Follow us      
  
  

สยามรัฐ [ วันที่ 23/05/2561 ]
ภาวะ ไหล่ติด

 ปวดไหล่พบได้มากและบ่อยขึ้น อาจเกิดเป็นครั้งคราวหรือเรื้อรัง
          นพ.สมศักดิ์  อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์  ระบุหากปวดระหว่างเอื้อมหยิบของที่สูง เอื้อมมือรูดซิปด้านหลังไม่ได้ ล้วงกระเป๋ากางเกงด้านหลังลำบาก ยกแขนสวมเสื้อไม่ได้  สระผมลำบาก ฯลฯ เป็นสัญญาณเสี่ยงสาเหตุเกิดจากเส้นเอ็นหุ้มข้อไหล่อักเสบ บวมและหนาตัวขึ้น เมื่อยกแขนหรือไขว้มือด้านหลังจะทำให้เส้นเอ็นถูกยืดและเจ็บจนไม่กล้ายกแขนขึ้นหรือเคลื่อนไหวหัวไหล่
          ยิ่งเลี่ยงจะยิ่งทำให้เอ็นรอบข้อไหล่หนาตัวขึ้น หากไม่ใช้แขนข้างที่ไหล่ติดนานๆ แขนข้างนั้นจะฝ่อลีบลง
          มักพบในผู้มีอายุ 40-60 ปี หญิงมากกว่าชาย ผู้ที่เกิดอุบัติเหตุที่หัวไหล่ แขนหัก ป่วยอัมพาตครึ่งซีก ผ่าตัดหัวไหล่เป็นโรคเบาหวานซึ่งมีแนวโน้มไหล่ติดมากเป็น 2 เท่า
          นพ.สมพงษ์ ตันจริยภรณ์ ผอ.รพ.เลิดสิน กรมการแพทย์ ระบุอาการมี 3 ระยะ  1.เจ็บ-ปวดขณะเคลื่อนไหวหัวไหล่และปวดมากขึ้นเมื่อยกแขนเหนือศีรษะ เป็นมากกลางคืนและเวลาล้มตัวนอน
          2.อาการปวดจะค่อยๆ ลดลง ข้อไหล่ติดแข็ง เคลื่อนไหวไหล่ลำบาก ตึงรั้งกล้ามเนื้อรอบหัวไหล่ถึงต้นคอ
          3.ข้อไหล่เคลื่อนไหวน้อยลงกระทบชีวิตประจำวัน แต่เมื่อไหล่ติดมากๆ ร่างกายจะเริ่มฟื้นฟูอาการจะค่อยๆลดลงปกติจะหายเองใน 2 - 3 ปี
          แต่ลำบากต่อการใช้ชีวิตและทรมานจากอาการปวดจึงไม่ควรปล่อยให้หายเอง
          จะรักษาตามอาการ เริ่มต้นทานยาหรือฉีดยา ระยะที่2 และ 3  กายภาพบำบัด
          หากอาการรุนแรงรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลนานกว่า 6 เดือน  อาจรักษาโดยผ่าตัด

 pageview  1204268    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved