Follow us      
  
  

โลกวันนี้ [ วันที่ 12/09/2557 ]
ออฟฟิศซินโดรม
จากภาวการณ์ในปัจจุบันที่สังคมเมืองมีการแข่งขันกันสูง ทำให้คนเรา ต้องทำงานหนักขึ้น จึงมีโรคที่เรียกติดปากกันว่า "ออฟฟิศซินโดรม"
          เวชธานี กล่าวว่า ออฟฟิศซินโดรมคือกลุ่มอาการที่พบบ่อยในคนนพ.ภัทร จุลศิริ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อทั่วไป โรงพยาบาลทำงานอย่างใดอย่างหนึ่งเป็นระยะเวลานานๆ เช่น งานเอกสาร, งานคอมพิวเตอร์, เลขานุการ, คนในโรงงานอุตสาหกรรม กระทั่งแม่บ้าน ซึ่งคนกลุ่มนี้จะมีลักษณะร่วมกันคือ เป็นการเจ็บป่วยที่เกิดภายหลังการทำงาน การทำย้ำๆซ้ำๆในอิริยาบถหนึ่งๆ และทำต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน
          การเกิดอาการโรคออฟฟิศซินโดรมจะเกิดจาก 4 ปัจจัยได้แก่ 1.การทำย้ำๆซ้ำๆ ซึ่งจะทำให้เกิดการสึกหรอ 2.การผิดท่า จะทำให้เกิดการบาดเจ็บของร่างกาย 3.ใช้แรงมาก จะเพิ่มความรุนแรงในโรคดังกล่าว และ 4.หากทำต่อเนื่องจะทำให้ร่างกายซ่อมแซมไม่ทัน อย่างไรก็ตาม นอกจาก 4 ปัจจัยที่กล่าวมาแล้วนั้นยังมีปัจจัยส่งเสริมอื่นๆอีกด้วย เช่น การบ้างาน ความเร่งรีบ ความเครียด อดอาหาร อดนอน
          อย่างไรก็ตาม หากปัจจัยดังกล่าวทั้งหมดรวมกันจะทำให้กระทบกับระบบต่างๆของร่างกาย เช่น
          1.ทางกล้ามเนื้อ ซึ่งเปรียบเสมือนระบบเครื่องยนต์ในร่างกาย หากบาดเจ็บจะเกิดอาการปวดเมื่อย นั่งทำงานนานๆจะปวดหลัง, คอ, บ่า, ไหล่ ยืนนานๆตะคริวจะขึ้นบ่อยๆ
          2.เส้นเอ็น จะใช้เวลานานกว่าจะซ่อมแซมตัวเองได้ กำของหรือจับของเล็กๆซ้ำๆเกิดอาการนิ้วล็อก เหยียดไม่สุด, ใช้ข้อมือทำซ้ำๆอาจเอ็นข้อมืออักเสบได้, นักกีฬาเล่นกีฬาท่าเดิมเป็นระยะเวลานานๆอาจมีเอ็นร้อยหวายอักเสบ, ไขนอตหรือหมุนข้อมือซ้ำๆ เจ็บที่ด้านนอกข้อศอก เป็นเอ็นเกาะกระดูกข้อศอกอักเสบ
          3.เส้นประสาท จะมาด้วยอาการปวดเหมือนไฟช็อต ปวดเสียวๆ ร่วมกับอาการชา ใช้มือพิมพ์คอมพิวเตอร์นานๆจะเป็นพังผืดรัดเส้นประสาทข้อมือ ทำให้ปวดชาบริเวณมือ, ยกของหนักๆ ปวดหลังร้าวลงขาได้
          4.เส้นเลือด มักจะมาด้วยอาการเส้นเสือดโป่ง, ตีบ, ชา, ปวด เนื่องจากเลือดเลี้ยงไม่ทัน เช่น ยืนนานเป็นเส้นเลือดขอด
          5.กระดูก ซึ่งเป็นเหมือนแกนหลักของร่างกาย หากเกิดการกระแทกในระยะเวลานานอาจเกิดกระดูกร้าวหรือผิวข้อสึกได้ พบในคนงานเจาะถนน, นักเต้น, นักวิ่ง, นักกีฬา
          สำหรับการรักษาโรคดังกล่าวจะแบ่งเป็น 3 วิธีที่ต้องใช้ร่วมแวดล้อมในการทำงาน ทั้งนี้ หากผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดบริเวณกันคือ การใช้ยา, การกายภาพบำบัด และการปรับเปลี่ยนสิ่งกล้ามเนื้อและรีบมาพบแพทย์ แพทย์จะทำการตรวจโดยละเอียดและวินิจฉัย หลังจากนั้นจะให้รับประทานยาแก้อักเสบกล้ามเนื้อ, ยาคลายกล้ามเนื้อ, ยานวด ร่วมกับการหยุดพฤติกรรมที่ทำให้เกิดอาการปวด ในบางครั้งอาจต้องใช้การกายภาพ ยืดกล้ามเนื้อและเส้นเอ็นที่บาดเจ็บ แต่หากรับการรักษาไปช่วงระยะเวลาหนึ่งแล้วยังคงมีอาการอยู่ แพทย์จะฉีดยาสเตียรอยด์เข้าสู่จุดที่บาดเจ็บเพื่อลดการอักเสบให้เร็วที่สุด เมื่อหายจากอาการเจ็บแล้ว แพทย์จะแนะนำให้ออกกำลังกายและยืดเพื่อเพิ่มความแข็งแรงและยืดหยุ่น ป้องกันการบาดเจ็บในอนาคต สิ่งที่สำคัญคือ ต้องมีการปรับเปลี่ยนสิ่งแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสมกับร่างกายมนุษย์
          นอกจากนั้นควรเปลี่ยนอิริยาบถทุก 1 ชั่วโมง เพื่อลดความเครียดต่ออวัยวะใดอวัยวะหนึ่ง ร่วมกับออกกำลังกายกลางแจ้งสม่ำเสมอ หากทำทั้งหมดแล้วอาการยังไม่ดีขึ้นให้ไปพบแพทย์
 pageview  1205111    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved