Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า [ วันที่ 07/11/2556 ]
สธ.เตือนเล่นพลุเสี่ยงหูตึงผิวไหม้
 นายแพทย์ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดกระทรวง สาธารณสุข เปิดเผยว่า พลุและดอกไม้ไฟนั้น ประกอบด้วยสารเคมีอันตรายหลายชนิด เช่น สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเติมออกซิเจนเพื่อช่วยในการเผาไหม้ ได้แก่ สารประกอบไนเตรท คลอเรต โปแตสเซียม แบเรียม สารเคมีที่ใช้เป็นตัวเร่ง และควบคุมความเร็วในการเผาไหม้ให้เกิดความร้อน เช่น ผงกำมะถัน แมกนีเซียม สังกะสี สารเคมีที่ทำให้ประกายไฟของดอกไม้ไฟเป็นสีต่างๆ และสารเคมีที่ช่วยในการเกาะตัวทำให้เกิดเป็นรูปร่างต่างๆ ได้แก่ แป้งและเชลแล็ค เป็นต้น
          ดร.นพ.พรเทพ ศิริวนารังสรรค์ อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สารเคมีเหล่านี้จะก่อให้ เกิดอันตรายต่อร่างกายได้หากมีการสัมผัสโดยตรงบริเวณผิวหนังหรือสูดดมเอาสารเคมีที่อยู่ในรูปของเหลว ผง ไอระเหย และควันพิษ เข้าสู่ร่างกายก่อให้เกิดอันตรายตามแต่ละชนิดของสารเคมี เช่น สารแบเรียมไนเตรท โปแตสเซียมคลอเรต โปแตสเซียมไนเตรท หากได้รับสัมผัสจะทำให้เกิดอาการระคายเคืองผิวหนัง ผื่นแดง ปวดแสบปวดร้อน และหากหายใจเข้าไปจะส่งผลกระทบต่อการระคายเคืองเยื่อบุทางเดินหายใจ หรือที่มีเสียงดังมากๆ ยังส่งผลกระทบต่อการได้ยิน เพราะเกือบทุกชนิดก่อให้เกิดเสียงดังมีระดับเสียงกระแทกสูงกว่า 130 เดซิเบล เอ ซึ่งสูงกว่ามาตรฐานที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้คือ 85 เดซิเบล เอ จะทำให้เกิดอาการหูตึงชั่วคราว และถ้าได้รับในช่วงเวลายาวนานจะทำให้หูตึงถาวรได้อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อสุขภาพของผู้ป่วยโรคหัวใจ ความดันโลหิตหรือส่งผลต่อสุขภาพจิต ทำให้หงุดหงิด นอนไม่หลับ สำหรับไฟเย็นจะมี ความร้อนที่อุณหภูมิ 649-983 องศาเซลเซียส สามารถทำให้ผิวหนังไหม้หรือตาบอดได้
 pageview  1205170    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved