Follow us      
  
  

ไทยโพสต์ [ วันที่ 02/10/2560 ]
วิเคราะห์โรคซึมเศร้าจากรูปในไอจี

นอกจากภาพ 1 ใบจะแทนคำพูดนับพันคำแล้ว ยังสามารถช่วยให้แพทย์วินิจฉัยโรคของคุณได้เช่นเดียวกัน เนื่องจากผลการวิจัยล่าสุดพบว่า รูปที่คุณอัพลงในโซเชียลมีเดียสามารถช่วยชีวิตของคุณได้
          จากการศึกษาวิจัยในกลุ่มตัวอย่างจำนวน 166 คน โดยการตรวจสอบภาพในอินสตาแกรมจำนวน 43,000 ภาพในโปรไฟล์ของกลุ่มตัวอย่างดังกล่าว ร่วมกับการตั้งคำถามเกี่ยวกับสุขภาพจิตของผู้วิจัย ทำให้ได้รับทราบข้อมูลว่ามีคนจำนวนครึ่งหนึ่งเป็นโรคซึมเศร้า ภายในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
          โดยนักวิจัยได้พัฒนาวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบของภาพถ่ายในไอจี นอกจากนี้ยังใช้เรื่องสี จำนวนคนในภาพ รวมถึงคอมเมนต์ที่มีต่อรูป และยอดกดไลค์มาเป็นข้อมูลประกอบ ซึ่งผู้ที่มีภาวะซึมเศร้านั้นมักโพสต์ภาพเปรียบเทียบระหว่างสีสดใสกับภาพโทนสีเข้ม หรือชอบอัพรูปที่มีโทนสีสว่างขึ้นซึ่งขัดกับความรู้สึกที่กำลังเป็น และมีรูปตัวเองอยู่ในภาพน้อยลง
          ซึ่งข้อแตกต่างระหว่างผู้ป่วยที่อยู่ในอาการหดหู่กับคนปกตินั้น หากเป็นคนทั่วไปมักจะชอบแปลงภาพสีให้เห็นภาพขาวดำ แต่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะชอบใช้แอปพลิเคชัน (Valenica แอปพลิเคชันเปรียบเทียบรูปสีสันกับรูปโทนขาวดำ) ที่ทำให้ภาพดูสดใสหรือดูดีขึ้น" นี่เองจึงถือเป็นความแตกต่างของคนปกติกับคนที่เข้าข่ายโรคซึมเศร้า
          จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า นักวิจัยได้นำหลักการง่ายๆ อย่างการตกแต่งภาพก่อนโพสต์รูป เพื่อช่วยในการวิเคราะห์ผู้ป่วยโรคจิตเวช และมีความแม่นยำอยู่ที่ 70 เปอร์เซ็นต์ ที่มาจากการอัพรูปในสื่อโซเชียลก่อนหน้าซึ่งแฝงความหดหู่ซ่อนอยู่
          ทั้งนี้ ดร.คริส แดนฟอร์ท ผู้อำนวยการจากมหาวิทยาลัยเวอร์มอนต์ เจ้าของผลงานวิจัยดังกล่าว เผยว่า ข้อมูลที่ได้ เป็นเพียงทฤษฎีในการวิเคราะห์โรคเบื้องต้นเท่านั้น ซึ่งอาจต้องศึกษาเพิ่มเติมเพื่อนำไปใช้จริง เนื่องจากยังเป็นการทดลองในกลุ่มของคนที่ชอบเล่นโซเชียลขนาดเล็กเท่านั้น โดยผู้เข้าร่วมวิจัยให้ความร่วมมือทั้งการตอบแบบสอบถามและให้ดูรูปที่โพสต์ลงในไอจี ซึ่งนักวิจัยคนเดิมได้กล่าวเสริมว่า จากผลลัพธ์ที่ปรากฏนั้นส่วนหนึ่งก็เพื่อกระตุ้นให้นักวิทยาศาสตร์ทำการศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์หรือสื่อออนไลน์เพื่อตรวจสอบหาผู้ป่วยทางจิตได้อย่างยอดเยี่ยมในอนาคต
          ที่น่าสนใจ ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักจะมีแนวโน้มที่จะแยกตัวออกจากสังคม ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าจากการวิเคราะห์รูปในอินสตาแกรมของผู้เข้าร่วมทดสอบนั้น มักจะมีรูปถ่ายของตัวเขาเองน้อยลง ประกอบกับโลกทัศนะของเขาจะมีด้านมืดลงเรื่อยๆ จึงจำเป็นต้องเลือกแอปพลิเคชันหรือฟิลเตอร์การกรองภาพที่ทำให้ดูสดใสขึ้น ปัจจุบันมีผู้ป่วยโรคซึมเศร้าเกือบ 300 ล้านคนทั่วโลก และพวกเขาก็ไม่ได้ตระหนักหรือให้ความสนใจโรคนี้แต่อย่างใด.

 pageview  1205134    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved