Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ [ วันที่ 12/11/2556 ]
ปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศของชายไทย

 

 รศ.นท.ดร.นพ.สมพล เพิ่มพงศ์โกศล คลินิกสุขภาพชาย หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ภาควิชาศัลยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
          เมื่อมีการกล่าวถึงปัจจัยเสี่ยงและการป้องกันโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศของชายไทย  ต้องกล่าวถึงงานวิจัยสำคัญที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างหลายมหาวิทยาลัย และหลายคณะแพทยศาสตร์ในประเทศไทย ซึ่งได้รับการตีพิมพ์ระดับนานาชาติ
          นั่นคืองานวิจัย "อุบัติการณ์ของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเพิ่มสูงขึ้น จากผลงานวิจัยระบาดวิทยาครั้งที่สองเรื่องการมีเพศสัมพันธ์ และอุบัติการณ์โรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชายไทย "
          ซึ่งสามารถสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
          งานวิจัยดังกล่าวเป็นการศึกษาโดยใช้แบบสอบถามมาตรฐานและสุ่มตัวอย่าง  ชายไทยที่เข้าร่วมการศึกษาอย่างเป็นขั้น ตอน
          โดยมีการสัมภาษณ์ชายไทยทั้งหมด 2,269 คน ซึ่งมีอายุระหว่าง 40-70 ปี และครอบคลุมบริเวณกรุงเทพมหานครและสี่ภาคทั้งหมดของประเทศไทยคือ ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคอีสาน และภาคใต้
          การสัมภาษณ์เป็นแบบตัวต่อตัว แบบ  สอบถามถูกออกแบบเพื่อวิเคราะห์ผลของ ปัจจัยทางสังคมเศรษฐกิจ โรคประจำตัวและ วิถีทางการดำเนินชีวิตในการเกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศและศึกษาถึงพฤติกรรมในการค้นหาวิธีการรักษาโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศของชายไทย
          ผลการศึกษาดังกล่าวพบว่าอุบัติการณ์ เกิดโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศเพิ่มขึ้นจาก ในอดีตที่เคยศึกษาไว้จากร้อยละ 37.5 เป็น ร้อยละ 42 ชายไทยอายุระหว่าง 60-70 ปีมีอุบัติการณ์ของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศสูงถึงร้อยละ 76.9
          ผลการวิจัยดังกล่าวบ่งบอกว่าปัญหาของโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศในชายไทยสูงขึ้นอย่างมากเมื่ออายุมากขึ้น
          เป็นที่น่าสนใจว่าประชากรของการ ศึกษานี้ส่วนใหญ่จะมีประวัติของการสูบบุหรี่ ถึงร้อยละ 63 ขณะที่ทำการศึกษาอยู่มีผู้เข้า ร่วมวิจัยยังคงสูบบุหรี่ในปัจจุบันร้อยละ 35 และมีประวัติเคยสูบบุหรี่และหยุดแล้วร้อยละ 28 โดยมีค่าเฉลี่ยของเวลาการสูบบุหรี่ 25 ปี และค่าเฉลี่ยของจำนวนบุหรี่ที่สูบคือ 14 ม้วน ต่อวัน
          ในร้อยละ 25 ของผู้ถูกสัมภาษณ์พบว่ามีโรคประจำตัวอย่างน้อยหนึ่งโรค  อัตราการมีโรคประจำตัวประกอบด้วยโรคเบาหวานร้อยละ 9 โรคความดันโลหิตสูงร้อยละ 19  มีอาการโรคต่อมลูกหมากอักเสบร้อยละ 21 และโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลร้อยละ 25.
 pageview  1205325    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved