Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันที่ 30/05/2556 ]
: 'ฟักหม่น'ยาเย็น ช่วยลดร้อน

 "ฟักหม่น"มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Be-nincasa hispida(Thunb.)Cogn.อยู่ในวงศ์ CUCURBITACEAE เป็นผักที่รับประทานได้ทั้งแบบสดหรือนำไปปรุงเป็นอาหาร และสามารถรับประทานได้ทั้งแบบสดหรือแบบนำไปปรุงเป็นอาหาร และสามารถรับประทานได้ทั้งในขณะที่ยังอ่อนอยู่ที่แก่จัดแล้วผลของฟักหม่นมีตั้งแต่ 2 กิโลกรัม ไปจนถึง 50 กิโลกรัม ยอดอ่อนและช่อดอกสามารถนำมาต้มหรือแกงได้เช่นเดียวกับยอดฝักทอง
          คนไทยโบราณและคนไทยใหญ่ ใความเชื่อว่า การวางฟักหม่นไว้บนขื่อบ้านจะช่วยป้องกันคุณไสยได้ คนไทยใหญ่เชื่อว่าฟักหม่นมีธาตุเย็นกันไฟได้ โดยนำมาวางบนขื่อกันไฟไหม้ในครัวและช่วยป้องกันฟ้าผ่า หากมองถึงความมั่นคงด้านอาหารถือได้ว่าเป็นอุบายในการเก็บถนอมอาหารที่แยบยลเพราะการที่ฟักหม่นไว้กินได้นานหลายเดือนบางครั้งเก็ได้เป็นปี การที่จะให้ผลฟักหม่นแก่จนเถาเหี่ยวแห้งเสียก่อน นี่แหละคือภูมิปัญญาชาวบ้าน
          ฟักหม่น มีสรรพคุณเป็นยาเย็น เห็นได้จากมีคำให้พรคู่บ่าวสาวในสมัยก่อนว่า"ให้เย็นเหมือนฟัก ให้หนักเหมือนแฝง ให้อยู่เรือนเหมือนก้อนเส้า ให้เฝ้าเรือนเหมือนแมวคราว"
          ชางบ้านทั่วไปต่างรู้ว่าน้ำลูกฟักหม่นใช้ดับพิษร้อน โดยมีวิธีทำ คือ นำลูกฟักหม่นมาผ่าขูดเมล็ดออก แล้วเอาช้อนขูดลงไปเป็นแอ่งเป็นบ่อเดิม เติมน้ำลงไป น้ำที่ได้นี้จะเป็นน้ำฟักหม่น ใช้ดื่มแก้ไขหรือใช้พ่นตามตัวเพื่อดับพิษร้อนในตัวคนคนไข้ บางพื้นที่ เอาเงิน เอาทอง (แหวนกำไลที่เป็นเงิน เป็นทองเหลือง)นำมาแช่น้ำในผลฟักที่ขุดไว้ เรียกว่า"น้ำเงิน น้ำคำ"แล้วเอาน้ำเงินน้ำคำให้กิน จะหายจากอาการไข้ หรืออาการร้อนใน แม้แต่อาการเลือดกำเดาไหลก็สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ ความเย็นของฟักหม่นยังใช้ดับพิษร้อนเวลาถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก โดยขูดเอาส่วนเนื้อด้านในตำให้ละเอียดนำไปฟอกแผลก็สามารถดับพิษร้อนได้ ให้เปลี่ยนยาพอกทุกครั้งที่เริ่มร้อน จะช่วยทำให้แผลจะไม่พอง
          การที่ฟักหม่นเป็นยาเย็น สาวๆ ในสมัยก่อนถ้าไปทำนาเกี่ยวข้าวแล้วรู้สึกร้อนหน้า จะขูดเอาเนื้อฟักหม่นพอกหน้า ทำให้เย็นสบายและยังเชื่อว่าเนื้อของฟักหม่นมีสรรพคุณเหมือนแตงกวาที่ช่วยให้ผิวหน้าชุ่มชื้น อ่อนเยาว์ ลดรอยเหี่ยวย่น ดังนั้นสาวๆ จึงนิยมนำน้ำคั้นมาทาหน้าเป็นประจำ
          เมื่อเกิดเหตุการณ์ช้างตกมัน คนสมัยก่อนจะโยนฟักหม่นให้กิน เมื่อช้างกินแล้วจะสงบลงทันที ฟักหม่นให้กิน เมื่อช้างกินแล้วจะสงบลงทันที ฟักหม่นยังเป็นยาลดความใคร่ ลดตัณหาและสามารถลดอาการลุ่มร้อนกระวนกระวายที่เกิดขึ้นจากการถอนยาเสพติดจำพวกฝิ่นหรือมอร์ฟีน ซึ่งปัจจุบันมีการวิจัยในสัตว์ทดลองพบว่า น้ำคั้นฟักหม่น ลดอาการที่เกิดจากการลงแดงจากการถอนยามอร์ฟีน และมีแนวโน้มว่าน้ำคั้นฟักหม่น ยังสามารถใช้กับคนเป็นโรคทางจิตประสาทรวมทั้งโรคลมชักได้อีกด้วย
          ฟักหม่น ช่วยลดอาการร้อนปากร้อนคอ หรืออาหารของโรคกระเพาะที่เรียกว่า heart burn คือ แสบร้อนที่ลิ้นปี่จากการที่มีกรดเกินที่กระเพาะคนสมัยก่อนนิยมขูดเนื้อในฟักหม่นกิน ปัจจุบันมีรายงานการศึกษาผลของฝักหม่นรักษาแผลในกระเพาะอาหาร พบว่า มีสรรพคุณตามที่มีการใช้มาแต่โบราณจริงๆ
          ส่วนต่างๆของฟักหม่นสามารถใช้เป็นยาได้หลายอย่าง อาทิ เปลือกผลเป็นยาขับปัสสาวะ นอกจากนี้ หมอยาไทยใหญ่ใช้ฟักหม่นในการควบคุมน้ำตาลในเลือด มีทั้งให้รับประทานสดๆ โดยรับประทานเนื้อฟักหม่น 1 ถ้วย เช้า-เย็น ทุกวัน หรือนำฟักหม่น 1 ถ้วย เช้า-เย็น ทุกวัน หรือนำฟักหม่น ผ่า ต้ม ใส่เครือกระพังโหม ใส่เครือมะระขี้นก ต้มกินเป้นประจำ 3 เวลา และยังมีข้อมูลว่าในเกาหลีนิยมใช้ฟักหม่นในการลดน้ำตาลในเลือดเช่นเดียวกันและปัจจุบันมีการศึกษายืนยันว่าฟักหม่นมีฤทธิ์ลดน้ำตาลในเลือดได้จริง
          ฟักหม่นเป็นยาสำหรับสัตว์ โดยสามารถช่วยให้วัวควายที่ไม่ถ่าย หรือถ่ายไม่ออกสามารถขับถ่ายได้สะดบวกขึ้น โดยวิถีใช้ คือ ผ่าฟักหม่น แล้วขูดเอาเนื้อมาตำกับหัวว่านไพล ใส่เกลือเล็กน้อยให้มีรสเค็ม แล้วคั้นเอาน้ำเก็บไว้ ตัดบั้งไม้ไผ่ไม่ต้องใหญ่มาก แล้วเอาน้ำที่คั้นใส่บั้งกรอกปากวัวควายเพียง 2 บั้งเท่านั้น วัวควายจะถ่ายออกมาทันที
          นอกจากนี้ เมื่อมีสัตว์ร้าย อาทิ เสือ งู ตะขาบ แมงป่อง มากัดหมู วัว หรือควายจนเป็นแผล คนไทยใหญ่จะใช้ช้อนขูดเปลือกจากด้านนอกของฟักหม่นไปจนใกล้กับเนื้อในของฟัก แล้วนำมาแปะบริเวณแผล ซึ่งสรรพคุณในการรักษาแผลดังกล่าวสามารถใช้ในคนได้เช่นเดียวกัน
          ภญ.ดร.สุภากรณ์ ปิติพร
          หัวหน้ากลุ่มงานเภสัชกรรมโรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร
          โทร. 0-3721-1289              

 pageview  1205156    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved