Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 27/06/2560 ]
สมาคมโรคติดเชื้อเน้นป้องกันไข้เลือดออกยืนยันไม่มีไวรัสสายพันธุ์ใหม่

 ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย กล่าวว่า ในโอกาส "วันไข้เลือดออกอาเซียน" สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งเอเชีย พร้อมด้วยสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย ร่วมกันรณรงค์ต้านภัยไข้เลือดออก ภายใต้แนวคิดหลัก United Fight Against Dengue ผลักดันให้เกิดการป้องกันไข้เลือดออกด้วยแนวทางที่ถูกต้องและเหมาะสม หวังปลดล็อกคนไทยจากการป่วยและเสียชีวิต บรรลุเป้าหมายตามที่องค์การอนามัยโลกกำหนดไว้ ร่วมกับชาติอื่นๆ ในอาเซียน คือ ลดอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 50 และลดอัตราการเจ็บป่วยจากโรคร้อยละ 25 ให้ได้ภายในปี พ.ศ. 2563
          รศ.(พิเศษ)นพ.ธีระพงษ์ ตัณฑวิเชียร นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีอัตราผู้ติดเชื้ออยู่ในช่วงอายุ 10-30 ปีเพิ่มมากขึ้น หรือพูดง่ายๆ ว่า โรคนี้ผู้ใหญ่เป็นกันมากขึ้น โดยเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่สายพันธุ์ใดสายพันธุ์หนึ่งใน 4 สายพันธุ์ ซึ่งมีการดำรงของโรคไม่ต่างจากเด็ก แต่ความรุนแรงของโรคที่เพิ่มขึ้น อาจมีปัจจัยมาจากการติดเชื้อหลายครั้งมาก่อนแต่อาจไม่แสดงอาการ รวมถึงพฤติกรรมการใช้ชีวิตและสุขภาพของผู้ป่วย หรือโรคประจำตัวอื่นๆ
          "ความรุนแรงของไข้เลือดออกนั้นไม่ได้เกิดจากการ ที่มีไวรัสสายพันธุ์ใหม่แต่อย่างใด จากการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสไข้เลือดออกมีร่างกายที่แข็งแรงมาก่อน บางครั้งมีแนวโน้มที่ร่างกายหรือภูมิต้านทานของร่างกายจะตอบโต้หรือมีปฏิกิริยาต่อเชื้อที่บุกรุกรุนแรงเท่านั้นเพื่อทำลายเชื้อไวรัส จนในบางครั้งการตอบสนองรุนแรงจนทำให้มีอาการและแสดงอาการที่รุนแรงได้"
          รศ.(พิเศษ)นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ นายกสมาคมโรคติดเชื้อแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ปัจจุบันแม้จะมียาฆ่า เชื้อไวรัสเดงกี่ แต่ก็ยังไม่ประสบผลสำเร็จในด้านยารักษาจำเพาะ ดังนั้นสิ่งที่จำเป็นต้องทำในวันนี้คือการป้องกัน ไม่ว่าจะเป็นการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงหรือการฉีดวัคซีนป้องกันไข้เลือดออก

 pageview  1205142    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved