Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 31/10/2557 ]
นักวิชาการชี้คุมเหล้าต้องห้ามโฆษณาได้ผลคุ้มทุน-ป้องเยาวชน
   รศ.ดร.เดวิท เจอริเกน อาจารย์ประจำภาควิชาพฤติกรรมและสังคมสุขภาพ และผอ.ศูนย์ศึกษาการตลาดแอลกอฮอล์ และเยาวชน คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยจอห์นฮอพกินส์ กล่าวว่า การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทำให้เกิดโรคจำนวนมาก โดยเฉพาะในผู้ชาย และเยาวชนที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อแยกการบริโภคจะพบว่า ร้อยละ 50 เป็นการดื่มในผู้ใหญ่ ดื่มไม่มากและไม่เกิดปัญหา แต่อีกร้อยละ 50 พบว่าร้อยละ 20 เป็นการดื่มในเยาวชน และร้อยละ 30 เป็นผู้ที่ดื่มแล้วติดจนเกิดปัญหา หมายถึงรายได้ครึ่งหนึ่งของธุรกิจนั้น ทำให้เกิดปัญหาต่อสังคม
          จากการสำรวจมาตรการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่าการทำการตลาดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น ไม่ได้แข่งขันของผู้ผลิตรายใหม่ แต่ทำการตลาดของผู้ผลิตรายเดิมๆ เท่านั้น ดังนั้น การห้ามโฆษณาทุกรูปแบบ หรือ Total Ban จึงนำมาใช้ควบคุมการบริโภคได้มีประสิทธิภาพ และใช้ต้นทุนน้อยกว่ามาตรการห้ามโฆษณา
          รศ.ดร.เดวิทกล่าวต่อว่า แนวโน้มการโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ในแต่ละประเทศพบว่า คล้ายๆ กัน เช่น การอ้างว่าดีต่อสุขภาพ เข้าไปให้ทุนกับการกีฬา เป็นต้น จากการสำรวจ 168 ประเทศ โฆษณาเบียร์บนทีวี พบว่าห้ามโฆษณาทั้งหมด ร้อยละ 20 ห้ามบางส่วน เช่น เวลา เนื้อหา ร้อยละ 23 และไม่ควบคุมเลยร้อยละ 56 ส่วนใหญ่อยู่ในประเทศกำลังพัฒนา ส่วนการห้ามให้เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ให้ทุนกับการกีฬา ร้อยละ 64 ยังไม่มีการควบคุม ร้อยละ 11 คุมได้บางส่วน และร้อยละ 24 ควบคุมได้ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นประเทศมุสลิมและประเทศรัสเซีย ที่เกิดปัญหาจากการบริโภค และยิ่งห้ามโฆษณามากเท่าไหร่ ก็จะเป็นผลดีและป้องกันเยาวชนดื่มมากขึ้น และการที่ประชาชนเข้าถึงอินเตอร์เน็ตมากขึ้น ทำให้โฆษณาไร้พรมแดน การควบคุมทั้งหมดจึงควรทำ บางประเทศเริ่มควบคุมทั้งหมดแล้ว เช่น ฟินแลนด์ และกลุ่มประเทศมุสลิม ที่ห้ามไม่ให้เกิดกิจกรรมการตลาด
 pageview  1205143    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved