Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์ข่าวสด [ วันที่ 02/09/2556 ]
ห่วงเด็ก-คนชราป่วยเทคโนฯซินโดรมเหตุติดเกม-สมาร์ตโฟน

  นพ.ฐาปณวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ จักษุแพทย์ประจำโรงพยาบาลพระนั่งเกล้า กล่าวว่า ปัจจุบันการใช้อุปกรณ์เทคโนโลยีต่างๆ สามารถทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยได้ ในอดีตจะเรียกว่าออฟฟิศซินโดรม แต่ปัจจุบันจะเรียกว่า เทคโนโลยีซินโดรม ซึ่งเกิดจากการใช้เทคโนโลยีต่างๆ มากเกินไป เช่น เล่นเกม สมาร์ตโฟน แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์ โดยมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาทุกกลุ่มอายุ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งการป่วยจากการใช้เทคโนโลยีมากเกินไปสังเกตอาการได้จาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่ 1.มีปัญหาโรคที่เกี่ยวกับตา ตั้งคอมพิวเตอร์ไม่เหมาะสมกับระดับสายตา รวมถึงความสว่างของไฟและการนั่งเป็นเวลานาน หลังจากใช้สายตานานๆ จนทำให้เกิดอาการดวงตาล้า ดวงตาเครียด ตาช้ำ ตาแดง และแสบตา เป็นต้น
          นพ.ฐาปณวงศ์กล่าวอีกว่า 2.โรคทางกล้ามเนื้อกระดูก ที่เกิดจากการนั่งท่าที่ไม่เหมาะสม จนส่งผลให้กระดูกคอเสื่อม กล้ามเนื้อทำงานผิดปกติ ปวดคอ บ่า ข้อมือ นิ้วมือ
          และปวดหลัง เป็นต้น และ 3.โลกทางจิตใจ มีปัญหาติดเทคโนโลยี ใช้ไม่เหมาะสม ควบคุมตัวเองและอารมณ์ ไม่ได้ เบื้องต้นให้ใช้เวลาทำงานหรือเล่นเกม สมาร์ตโฟน แท็บเล็ตและคอมพิวเตอร์เพียง 25-30 นาที และพักสายตาประมาณ 1-5 นาที เพื่อเป็นการพักผ่อนสายตา นอนหลับพักผ่อนไม่น้อยกว่าวันละ 7 ชั่วโมง ผลวิจัยไต้หวัน พบว่าวิธีการรักษาอาการเทคโนโลยีซินโดรมที่ดีที่สุด คือ การนอน หรือการทำอายแพ็กกิ้ง หรือการประคบเย็นก็ช่วยได้
          "การประคบเย็นอาจนำผ้าไปแช่ในตู้เย็นหรือชุบในน้ำเย็น มาวางทาบโดยไม่ต้องกด ขยี้หรือคลึงแต่อย่างใด วางตั้งแต่ขมับซ้ายมาขมับขวาทาบทับหน้าผาก ตาและจมูก ต้องทำติดต่อกันประมาณ 20 นาที และทำวันละ 2 ครั้ง หรือแม้แต่คนที่ทำงานหลังเที่ยง เมื่อรับประทานอาหารเสร็จ ทำประคบเย็นจะดีที่สุด ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์บ่อยก็ทำได้" นพ.ฐาปณวงศ์กล่าว

 pageview  1205567    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved