Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 21/02/2561 ]
สุขภาพ ปาก ดี อายุ ยืนยาว

 นพ.ณัฐพงศ์ วงศ์วิวัฒน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์เผยสถานการณ์ผู้สูงวัยไทยปี 58 พบประชากร 65.1 ล้านคน มีผู้อายุ 60 ปีขึ้นไป 11 ล้านคน หรือร้อยละ 16
          สำคัญคือ ผู้สูงวัยจะเจ็บป่วยง่าย และเกิดได้กับทุกระบบของร่างกาย รวมทั้งเนื้อเยื่อกระดูกและฟัน และอวัยวะที่รองรับฟัน ต่อมน้ำลาย และเยื่อเมือกต่างๆ ในช่องปาก ซึ่งสุขภาพช่องปาก-ฟันสำคัญในการใช้ชีวิต
          การดูแลสุขภาพช่องปากผู้สูงอายุเบื้องต้น ควรเริ่มจากดูแลความสะอาดของฟัน เลือกแปรงที่เหมาะกับช่องปาก ขนแปรงนิ่ม เปลี่ยนเมื่อขนแปรงบานหรือใช้งาน 2-3 เดือน
          หากใส่ฟันปลอมควรแช่ในน้ำสะอาด ไม่ใส่ฟันปลอมนอนเพราะอาจอักเสบ ติดเชื้อราในช่องปากได้
          ผู้สูงอายุที่ชอบกินระหว่างมื้อ ควรเลือกธัญพืช ถั่ว นมผลไม้ไม่หวานจัด ซึ่งดีต่อสุขภาพฟันและมีไฟเบอร์
          ทันตแพทย์บุญชู สุรีย์พงษ์ ผอ.สถาบันทันตกรรม กล่าวว่า ปัญหาสุขภาพช่องปากและฟันในผู้สูงอายุหากดูแลไม่ถูกวิธีอาจสูญเสียฟัน ฟันผุ /รากฟันผุ โรคปริทันต์ มะเร็งช่องปากน้ำลายแห้ง ฟันสึก
          ควรเลือกใช้เครื่องมือช่วยทำความสะอาดฟันเพิ่มเติม เช่นแปรงซอกฟัน ทำความสะอาดฟันที่เป็นช่องมีเหงือกร่นหรือฟันห่าง ทำความสะอาดกระพุ้งแก้ม โคนลิ้น เพื่อขจัดอาหารและคราบจุลินทรีย์ที่ตกค้าง
          ควรรับประทานอาหารเป็นมื้อไม่กินจุบจิบ เพื่อลดการตกค้างของเศษอาหารบริเวณช่องปาก ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยง เช่น สูบบุหรี่ เคี้ยวหมาก รับประทานอาหารที่มีรสหวานหรือมีแป้งและน้ำตาล
          ควรพบทันตแพทย์ทุก 4-6 เดือน เพื่อรักษาสุขภาพฟันและช่องปากให้แข็งแรงเสมอ

 pageview  1204410    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved