Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 27/12/2560 ]
เตือนภัยเงียบ! โรคซึมเศร้า

  นพ.เจษฎา โชคดำรงสุข ปลัด ก.สาธารณสุขเผยองค์การอนามัยโลกคาดการณ์ปี 2020 โรคซึมเศร้าจะเป็นสาเหตุการสูญเสียปีสุขภาวะสูงเป็นอันดับ2 รองจากโรคหัวใจหลอดเลือด โดยวัดจากปีสุขภาวะที่สูญเสียไปจากโรคและการบาดเจ็บของประชากรจากปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคม
          สำหรับไทยถือเป็นปัญหาที่เฝ้าจับตามองอันดับ 4 สังคมต้องให้ความสำคัญ เพราะกระทบเศรษฐกิจและสังคมมาก เนื่องจากผู้ป่วยหากอาการรุนแรงจะเสี่ยงฆ่าตัวตาย หรือมีชีวิตคล้ายคนสมองพิการ
          กรมสุขภาพจิต ก.สาธารณสุข ได้ให้ข้อมูลโรคนี้ และเพิ่มการเข้าถึงบริการต่างๆ ทำให้ผู้ป่วยเข้าถึงบริการได้เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 20 เป็นร้อยละ 50
          พร้อมเร่งให้ความรู้ประชาชน ครอบครัว เพื่อสังเกตอาการเฝ้าระวังความผิดปกติของตนเองหรือผู้ใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้สูงอายุวัยรุ่น มีโรคประจำตัว และส่งเข้ารับคำปรึกษากับเจ้าหน้าที่ นักจิตวิทยา หรือจิตแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน
          พญ.พรรณพิมล วิปุลากร รองปลัด ก.สาธารณสุข และโฆษก ก.สาธารณสุข กล่าวว่า ผู้ที่เริ่มมีอาการจะสังเกตตนเองได้แต่หากอาการรุนแรง ครอบครัว ผู้ใกล้ชิดต้องช่วยกันสังเกตว่า มีอาการดังต่อไปนี้
          1.อารณ์ซึมเศร้า 2.สนใจกิจกรรมต่างๆ ลดลงมาก3.น้ำหนักลดหรือเพิ่มมากเบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมาก 4.นอนไม่หลับหรือหลับมากเกินไป
          5.กระวนกระวายอยู่ไม่สุขหรือเชื่องช้าลง 6.อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง 7.รู้สึกตนเองไร้ค่า 8.สมาธิลดลง ใจลอย ลังเลใจไปหมด 9.คิดเรื่องตายหรืออยากตาย
          หากพบอาการในข้อ 1 หรือ 2 อย่างน้อย 1 ข้อ หรือ5 ข้อหรือมากกว่า เป็น 2 สัปดาห์ขึ้นไป และมีอาการตลอดเวลา แทบทุกวัน หมายถึงมีภาวะซึมเศร้า ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือพบแพทย์เพื่อบำบัดรักษา
          โรคนี้ไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด ส่วนใหญ่มาจากปัญหา "กาย จิตสังคม" ทางกาย เช่น มีความผิดปกติของระดับสารเคมีที่เซลล์สมองสร้างขึ้นเพื่อรักษาสมดุลของอารมณ์มีประวัติโรคซึมเศร้าในครอบครัว
          การรักษาจะใช้ยาปรับระดับสารเคมีในสมอง ทางจิตใจ ผู้ป่วยจะคิดลบกับทุกสิ่ง จะใช้พฤติกรรมบำบัดโดยนักจิตวิทยาหรือจิตแพทย์ และทางสังคม จากปัญหาครอบครัว การทำงาน การเรียนยาเสพติด เป็นต้น
          ประชาชนสามารถประเมินตนเองด้วยแบบประเมินโรคซึมเศร้าได้ ทางเว็บไซต์กรมสุขภาพจิต http://www.dmh.go.th/ และแอพพลิเคชั่น smilehub หรือปรึกษาสายด่วนกรมสุขภาพจิต 1323 ตลอด 24 ชั่วโมง

 pageview  1205121    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved