Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 04/09/2560 ]
ทวงคืน'ความเป็นธรรม'พ่อ/แม่ หลังถูกบ.นมผงแหกตามานาน

 นพ.ธงชัย เลิศวิไลรัตนพงศ์ รองอธิบดีกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยกับ "ดอกเบี้ยธุรกิจ" ถึง พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทากรำและเด็กเล็กฉบับใหม่มีผลบังคับ ใช้ในวันที่ 8 กันยายน 2560 นี้ว่า พ.ร.บ. ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก หรือเรียกการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็ก หรือเรียกสั้นๆ ว่า พ.ร.บ. นมผล สาระสำคัญของเรื่องนี้เป็นเรื่องของการที่จะไปบังคับบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายหรือตัวแทน มี 2 ประเด็นใหญ่ คือเรื่องการโฆษณา  กับเรื่องการส่งเสริมตลาด
          ในประเด็นการโฆษณานั้น ก่อนหน้าจะมี พ.ร.บ. อาหารที่ห้ามการโฆษณานมสำหรับทารกอยู่แล้ว ดังนั้น พ.ร.บ. ฉบับที่จะออกมาใหม่นี้ ในแง่การโฆษณา จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมก็คือ อาหารทารกก็คือนมสำหรับเด็กอายุ 0-12 เดือน ก็จะห้ามโฆษณาทั้งหมด
          "ประเด็นที่สำคัญของ พ.ร.บ.ใหม่นี้ คือ ห้ามบริษัทส่งเสริมการตลาดในแง่การ ลด แลก แจกแถม การติดต่อกับแม่ที่มีลูกอายุไม่เกิน 3  ขวบ คือกลุ่มเด็กเล็ก  เด็กอายุอายุ 1-3 ขวบ จะห้ามเรื่องเหล่านี้  ที่จะให้ไม่มีการดำเนินการ แม้ว่าผู้ผลิต รวมถึงผู้นำเข้าจะไม่ค่อยสบอารมณ์เท่าไหร่ กับ พ.ร.บ.ดังกล่าวนี้ ส่วนการโฆษณาจะไม่กระทบเลยเพราะได้ห้ามมาหลายปีแล้ว เนื่องจากในส่วน พ.ร.บ. อาหาร จะมีประกาศห้ามโฆษณาสำหรับอาหาทารกอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นในแง่โฆษณา จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม แต่สิ่งที่เพิ่มเติมเข้ามาจะเป็นเรื่องการส่งเสริมตลาดมากกว่า"
          กรณีคุณแม่ทำการโฆษณาเองในช่องทางออนไลน์ นพ.ธงชัยกล่าวว่าประเด็นนี้มีข้อห้ามในตัวพ.ร.บ.อาหารอยู่ก่อนแล้ว คุณแม่จึงไม่สามารถทำโฆษณาได้ โดยจะห้ามไม่ให้มีการโฆษณาอาหารทารก เพราะตรงนี้เองจะทำให้คุณแม่เข้าใจผิด ซึ่งเป็นงานวิจัยที่เราศึกษามาว่าคุณแม่ของประเทศไทย เข้าใจผิดหลายเรื่องในแง่การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ดังนั้น คุณแม่เองก็ไม่สามารถทำการโฆษณาด้วยตนเองได้ หากทำก็จะผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร
          "การส่งเสริมการตลาดแบบไหนที่ทำไม่ได้ ก็คือสิ่งที่เพิ่มข้อบังคับเข้ามา คือการลดราคา คือห้ามบริษัทใช้วิธีการโฆษณา เช่น ราคา 500 บาท แต่มีกากบาทลดเหลือ 400 บาท พอเราออก พ.ร.บ.ใหม่นี้ จะส่งผลให้ต้นทุนทางการตลาดลดลง บริษัทต้องลดราคาลงอยู่แล้ว โดยทางพาณิชย์ มีกระบวนการดูแลอยู่แล้ว ดังนั้น จึงห้ามทำการจูงใจ ลด แลก แจก แถม เพื่อทำให้คุณแม่อยากใช้ผลิตภัณฑ์ ที่สำคัญคือการติดต่อ โดยตรงไปหาคุณแม่ ที่ผ่านมาในช่วงหลายปีหลังมานี้ที่กระทรวงสาธารณสุข เราจะมีประกาศจะไม่ให้ทางโรงพยาบาลามีกระบวนการติดต่อกับทางบริษัท ต่อมาทำให้ทางบริษัทมียุทธวิธี ติดต่อคุณแม่โดยตรง ตรงนี้ก็จะมีข้อห้ามด้วย" นพ.ธงชัยกล่าวและว่า
          พ.ร.บ.ควบคุมการส่งเสริมการตลาดอาหารทารกและเด็กเล็กฉบับใหม่ จะควบคุมในส่วนถ้าเป็นผลิตภัณฑ์ถูกควบคุมหมด ไม่ว่าจะเป็นบริษัทใด หรือบริษัทขายตรง หากมีผลิตภัณฑ์นม สำหรับทารกจำหน่ายจะควบคุมหมด อย่างไรก็ตาม ก็มีผู้ประกอบการออกมาบอกว่าจะกระทบธุรกิจพอสมควร คือถ้าเรารณรงค์ส่งเสริมให้คุณแม่ใช้การเลี้ยงดูลูกด้วยนมแม่ได้มากขึ้น ก็คิดว่าน่าจะกระทบแน่นอน แต่ว่าเราทำในสิ่งที่เป็นประโยชน์ เพราะว่านมแม่นั้นมีคุณค่ามากกว่านมผงมากมาย ที่สำคัญคุณแม่เองไม่ต้องเสียเงินด้วย ตรงนี้จะเป็นประเด็นสำคัญ เป็นประโยชน์ทั้งต่อคุณแม่และสังคมในภาพรวมและต่อประเทศด้วย ดังนั้น ถึงจะกระทบอย่างไรก็ต้องทำให้คุณแม่เข้าใจได้ถูกต้อง
          "กลับกันถ้ามองอีกมุมหนึ่งที่ผ่านมาเราปล่อยให้บริษัทได้ทำการโฆษณาและส่งเสริมการตลาดจนทำให้คุณแม่เข้าใจผิดคิดว่านมผงดีเท่าเทียมนมแม่ คิดว่าเราจะเสียโอกาสไปเยอะพอสมควร ดังนั้น กลับกัน คือขอทวงคืนความเป็นธรรมสำหรับคุณพ่อคุณแม่ว่าที่ผ่านมาและในวันนี้บริษัทจะขอชดเชยทดแทนประเทศอย่างไร แต่ไม่ได้อยากให้ในประเด็นที่ว่า จะกระทบบริษัทเหล่านั้นอย่างไร"
          นพ.ธงชัยเปิดเผย หลักวิชาการทั่วโลกโดยคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญองค์การอนามัยโลก เด็กทารกสามารถทานนมแม่อย่างเดียวได้ถึง 6 เดือน คือ ทานนมแม่แบบไม่ต้องทานน้ำ เพราะนมแม่จะมีน้ำมีสารอาหารเพียงพอ ที่สำคัญ คือมีภูมิต้านทานด้วย และหลัก 6 เดือนจะต้องมีอาหารตามวัยเข้ามา คืออาหารเหลวๆ มาบดให้ลูกได้ทาน 1 มื้อ และ 7-8 เดือนเพิ่มเป็น 2 มื้อ และ 12 เดือนเพิ่มเป็น 3 มื้อ โดยให้ควบคู่กับนมแม่ ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องมีนมผง ถ้านมแม่ยังใช้ได้อยู่ ยกเว้นถ้าช่วง 6 เดือนแรก หากคุณแม่มีโรคหรือมีเหตุทำให้ไม่สามารถให้นมได้ ตรงนี้นมผงจะเข้ามาช่วยแก้ปัญหา
          "ถ้าเรามีของดีอยู่แล้ว เราก็ควรจะได้ประโยชน์จากสิ่งที่ดีที่สุดตรงนั้น แม้ว่าคุณแม่อาจจะไม่สามารถลางานได้ยาวถึง 6 เดือนหรือด้วยภารกิจต่างๆ การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ในช่วงแรกจะมีประโยชน์ พอหลังจากนั้นก็มีวิธีการ โดยปัจจุบัน มีแนวทางมีวิธีการ มีเทคโนโลยีที่เข้ามาช่วยให้คุณแม่ปั๊มนมแล้วเอาเก็บไว้ให้ลูกได้ทานนมแม่ได้ยาวโดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินไปซื้อนมผง แล้วก็จะได้รับประโยชน์จากนมแม่อย่างเต็มที่ด้วย คือมีวิธีการอยู่ แต่อาจจะต้องมีความตั้งใจและครอบครัวให้การสนับสนุน" นพ.ธงชัยกล่าวถึงเจตนาของกฎหมายใหม่ที่กำลังออกมาบังคับใช้
          อย่าได้ไปกังวลแทนบริษัทนมเหล่านั้นเลย บริษัทเหล่านี้จะยังมีเทคนิคอีกเยอะ แต่เราห่วงภาครัฐมากกว่าว่าจะตามบริษัทนมเหล่านั้นทันหรือไม่  คือเรามีกฏหมายในมือ ไม่ได้รังแกใคร แต่เป็นการปกป้องนมแม่ ถ้าเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าถ้านมแม่เป็นบริษัทหนึ่งที่มีการเปรียบเทียบให้เห็นภาพว่าถ้านมแม่เป็นบริษัทหนึ่งที่มีการส่งเสริมการตลาดการโฆษณาเทียบเท่ากับนมผงแล้ว กกหมายเพื่อปกป้องการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ไม่ให้บริษัทนมมาล่วงละเมิดในแง่ของการบิดเบือนข้อมูล เราจึงอยากให้เห็นตรงนี้มากกว่า

 pageview  1205102    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved