Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 19/04/2555 ]
ภูมิแพ้ผิวหนังในเด็ก

 ร้อนๆ อย่างนี้ โรคผิวหนังอักเสบในเด็กเล็ก เป็นปัญหาที่ผู้ปกครองไม่ควรมองข้าม นพ.วิทยา อัศววิเชียรจินดา ผู้เชี่ยวชาญกุมารเวชศาสตร์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพญาไท 3 บอกว่า โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังหรือที่เรียกว่า Atopic Dermatitis  กว่าร้อยละ 20 จะพบบ่อยในทารกหรือเด็กเล็กอาการคือ ผิวหนังแห้ง และเกิดอาการคันร่วมด้วย ยิ่งเกาจะยิ่งเป็นมากขึ้น ผื่นจะเป็นๆหายๆ อาการอาจแตกต่างกัน แต่มักจะเกิดผื่นตามข้อศอก ข้อพับบริเวณเข่า บริเวณมือ เท้า แขน ขา ลำตัว หนังศีรษะ หน้า หรือหลังใบหู ผิวหนังจะแห้งเป็นขุย อักเสบแดงและบวม บางครั้งอาจจะแตก หรือเป็นเกล็ดและตกสะเก็ด กรณีเด็กทารกมักจะพบผื่นอักเสบบริเวณแก้ม ลำคอ ด้านนอกของแขนและขาทั้งสองข้าง
          สาเหตุของโรคยังไม่รู้แน่ชัด แต่เชื่อว่ากรรมพันธุ์มีส่วน และ 2 ใน 3 ของผู้ป่วยจะเป็นโรคแพ้อากาศร่วมด้วย โดยสิ่งป่วยจะเป็นโรคแพ้อากาศร่วมด้วย โดยสิ่งแวดล้อมที่บ้าน โรงเรียน จะเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดผื่นคันปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้
          วิธีรักษาต้องทำให้ผิวหนังที่แห้ง ผื่นคัน ระคายเคืองกลับมาเป็นผิวหนังปกติ และป้องกันการเห่อซ้ำของผื่นด้วยการรักษาความชุ่มชื้นของผิวให้คงอยู่สม่ำเสมอ เลี่ยงอาบน้ำร้อน ใช้ครีมอาบน้ำอ่อนที่มีฤทธิ์แก้คัน หรือเลือกสบู่ที่มีส่วนผสมของ ไขมัน หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นการเห่อของผื่นเช่น ความร้อนหรือเย็นเกินไป ไรฝุ่น อาหารบางชนิด
          หากเด็กเริ่มคันที่ผิวหนัง เบื้องต้นควรใช้ผ้าชุบน้ำเย็นปิดบริเวณที่คันสักพัก แล้วค่อยทาครีมบำรุงผิวที่ผลิตจากสารธรรมชาติ โดยเฉพาะ
          สารสติมูเทค-เอเอส จะช่วยลดอาการผื่นคันบวมแดงร้อนได้ดี และสารแซคคาไรด์ ไอโซเมอเรท ช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นให้ผิวหนัง ซึ่งสามารถใช้กับเด็กอายุตั้งแต่ 15 วันขึ้นไป เมื่อหายให้ทาต่อเรื่อยๆเพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ บางครั้งถ้าเกิดอาการมากอาจต้องให้ใช้สเตียรอยด์ร่วมด้วย 2-3 วัน แต่จะต้องให้แพทย์แนะนำเพื่อความปลอดภัย

 pageview  1205090    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved