Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 27/08/2558 ]
เบาหวานเรื้อรังทำหลอดเลือดหัวใจเสื่อม
  ข้อมูลจากกรมการแพทย์พบว่า ปัจจุบันโรคเบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังที่เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยโรคนี้เกิดจากความผิดปกติของร่างกายที่ไม่สามารถใช้น้ำตาลได้ตามปกติ ทำให้ระดับน้ำตาลในกระแสเลือดสูงขึ้น และถุกขับออกมาทางปัสสาวะ เนื่องจากร่างกายาขาดฮอร์โมนอินซูลิน เมื่อมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นระยะเวลานานจะทำให้หลอดเลือดเสื่อมและเสียหาย
          โรคเบาหวานแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 1.ชนิดที่พึ่งอินซูลิน เป็นเบาหวานชนิดที่พบได้น้อย แต่วัยรุ่นอายุน้อยกว่า 25 ปี ในประเทศไทยพบน้อยกว่า 5% ของประชากร
          2.ชนิดที่ไม่พึ่งอินซูลิน ในประเทศไทยพบมากกว่า 95% ซึ่งมักจะมีความรุนแรงน้อย พบได้บ่อยในผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 40 ปี ขึ้นไป และมีอัตราการป่วยที่เพิ่มขึ้นตามสัดส่วนอายุ มักพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายผู้ป่วยบางรายอาจไม่มีอาการแสดงออกของโรคเลย หรืออาจจะมีอาการแบบค่อยเป็นค่อยไปจนถึงขั้นแสดงอาการรุนแรง หรือหมดสติและเสียชีวิตได้
          ทั้งนี้ ผู้ป่วยโรคเบาหวานมักพบภาวะแทรกซ้อนตามระบบและอวัยวะต่างๆ โดยเฉพาะผู้ป่วยเบาหวานเรื้อรังจะมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ หลอดเลือดหัวใจเสื่อมและมีความรุนแรงของโรคมากกว่าคนปกติ
          สำหรับสัญญาณอันตรายของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจจากเบาหวานที่ต้องรีบพบแพทย์ อาจสังเกตได้จากอาการแน่น หรืออึดอัดบริเวณกลางหน้าอกข้างซ้าย หรือลิ้นปี่คล้ายอาการจุกเสียด ปวดร้าวที่ท้องแขนด้านในหน้ามืด วิงเวียน เหงื่อออก ตัวเย็นใจสั่นจะเป็นลมหรือหมดสติ ส่วนอาการเจ็บหน้าอกนั้นมักไม่ชัดเจน เพราะผู้ป่วยมักมีปัญหาปลายประสาทรับความรู้สึกเสื่อมสภาพการวินิจฉัยโรคจึงทำได้ยากกว่าปกติ
          ผู้ป่วยโรคเบาหวานควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในระดับปกติ (70-110) หรือใกล้เคียงมากที่สุด ด้วยการกินอาหารให้พอดี เว้นระห่างของอาการแต่ละมื้อให้นาน งดเว้นอาหารประเภทหวานๆ หลีกเลี่ยงผลไม้รสหวาน อาหารประเภทแป้งและไขมัน รวมทั้งไขมันจากกะทิ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐานออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 15-30 นาทีต่อวัน ควรพกลูกอมหรือน้ำตาล และบัตรที่แสดงว่าเป็นผู้ป่วยโรคเบาหวานติดตัวไว้เสมอ งดบุหรี่และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของแพทย์อย่างเคร่งครัด ก็จะช่วยชะลอความเสื่อมของหลอดเลือดหัวใจ ทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติและมีสุขภาพที่แข็งแรง
 pageview  1205110    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved