Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 11/03/2557 ]
ใช้ชีวิตอยู่ในความมืดเพิ่มศักยภาพ'หู'
ที่ จ.อุบลราชธานี นพ.ศรายุธ อุตตมางคพงศ์ ผอ.สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 7 จ.อุบลราชธานี (สคร.7) รับผิดชอบพื้นที่ 7 จังหวัดรวมถึง จ.ศรีสะเกษ กล่าวว่า โรคพิษสุนัขบ้าหรือโรคกลัวน้ำเกิดจากเชื้อไวรัสก่อโรคในสัตว์เลือดอุ่นเลี้ยงลูกด้วยนมทุกชนิด เช่น สุนัข แมว วัว ควาย ลิง ชะนี เป็นต้น ในไทยพบว่าสุนัขป่วยเป็นโรคนี้มากที่สุดร้อยละ 96 รองลงมาคือแมว โดยเชื้อติดต่อสู่คนจากการถูกสัตว์ที่เป็นโรคกัด ข่วน เลีย น้ำลายกระเด็นเข้าทางตา ปาก หรือบาดแผลตามผิวหนัง
          โดยเชื้อไวรัสจะเพิ่มจำนวนที่บริเวณแผลถูกกัด หลังจากนั้นประมาณ 3 สัปดาห์-4 เดือนจะมีอาการป่วย บางรายอาจเร็วเพียง 4 วัน การป่วยจะช้าหรือเร็วขึ้นอยู่กับจำนวนเชื้อที่เข้าไปในร่างกายและตำแหน่งบาดแผลหากอยู่ใกล้สมองเชื้อจะเข้าสู่ระบบประสาทส่วนกลางหรือเข้าสู่ สมองได้เร็ว ผู้ป่วยจะมีอาการคลุ้มคลั่งดุร้าย กระวนกระวาย หากเชื้อเข้าสู่ไขสันหลังจะทำให้สมองและไขสันหลังทำงานผิดปกติ มีอาการอัมพาตและเสียชีวิตในที่สุด
          ทั้งนี้แต่ละปีคนไทยถูกสุนัขกัดไม่ต่ำกว่า 1 ล้านคน โดยในปี 56 พบผู้เสียชีวิตจากโรคพิษสุนัขบ้า 6 ราย ทุกรายถูกสุนัขกัด และไม่ได้ฉีดวัคซีนหลังถูกกัด จึงขอความร่วมมือประชาชนในพื้นที่ช่วยสอดส่องดูแลสุนัข แมว เนื่องจากระยะหลังพบว่าสัตว์เลี้ยงเป็นสาเหตุของโรคพิษสุนัขบ้าในคนมากกว่าสุนัขจรจัด ผู้ปกครองควรดูแลอย่าให้บุตรหลานไปเล่นหรือคลุกคลีกับสุนัขและแมวไม่มีเจ้าของ และลดพฤติกรรมเสี่ยงต่อการถูกสุนัขกัดโดยใช้คาถา 5 ย คือ 1. อย่าแหย่ให้สุนัขหรือสัตว์โกรธ 2. อย่าเหยียบหาง หัว ตัว ขา หรือทำให้สุนัขตกใจ 3. อย่าหยิบจับจานข้าวหรือเคลื่อนย้ายอาหารขณะที่สุนัขกำลังกินอาหาร 4. อย่ายุ่งหรือเข้าใกล้สุนัขที่ไม่รู้จักหรือไม่มีเจ้าของ และ 5. อย่าแยกสุนัขที่กำลังกัดกันด้วยมือเปล่า
          ทั้งนี้ยังไม่มียาใดที่รักษาโรคพิษสุนัขบ้าได้แต่สามารถป้องกันได้โดยการฉีดวัคซีน อย่างไรก็ตามหากถูกกัดควรเฝ้าระวังสุนัขหรือแมวที่มากัดเป็นเวลา 10 วัน หากสัตว์ตายระหว่างดูอาการให้แจ้งปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อตัดหัวสุนัขส่งตรวจหาเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า และทำการป้องกันควบคุมโรคในชุมชน หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ศูนย์บริการข้อมูลฮอตไลน์ 1422 หรือศูนย์ปฏิบัติการกรมควบคุมโรค 0-2590-3333.แพทย์และนักประสาทวิทยาค้นพบมานานแล้วว่าเซลล์ประสาทของมนุษย์เรานั้นไม่ได้หยุดอยู่กับที่ แต่สามารถปรับตัวเองได้ เห็นได้ชัดจากกรณีของบุคคลที่สูญเสียสายตา แต่กลับพัฒนาขีดความสามารถในการรับฟังเพิ่มสูงขึ้น ทั้งในการได้ยินเสียงเบาๆ ได้ดีกว่า และในการจำแนกโทนเสียงที่แตกต่างกันได้ดีกว่าเมื่อเซลล์ประสาทในส่วนที่รับสัมผัสจากภายนอกปรับปรุงขีดความสามารถอีกด้านหนึ่งให้สูงขึ้นเพื่อชดเชยขีดความสามารถอีกด้านที่สูญเสียไป
          ตัวอย่างที่ดีในกรณีดังกล่าวก็คือของนักร้อง นักดนตรีผู้พิการทางสายตา อาทิ สตีวี่ วันเดอร์ เป็นต้น
          ทีมนักวิทยาศาสตร์สหรัฐอเมริกาจากมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกินส์ ในเมือง บัลติมอร์ และมหาวิทยาลัยแห่งแมริแลนด์ นำองค์ความรู้ดังกล่าวมาศึกษาทดลองใหม่ เพื่อหาหนทางใช้เป็นเครื่องมือในการเยียวยาขีดความสามารถในการได้ยินของ ผู้สูงอายุ โดยทำการทดลองในหนูทดลองสูงอายุกลุ่มหนึ่ง ด้วยการนำมันไปอยู่ในที่มืดโดยสิ้นเชิงเป็นเวลา 1 สัปดาห์ แล้วนำมาทดสอบขีดความสามารถในการได้ยิน เปรียบเทียบกับหนูทั่วไปที่ใช้ชีวิตอยู่ในสภาพปกติ
          ผลการทดลองพบว่าหนูในกลุ่มตัวอย่างที่ควบคุมพฤติกรรม มีขีดความสามารถในการได้ยินดีขึ้น ทั้งหูไวขึ้น และจำแนกโทนเสียงได้ดีขึ้นกว่าหนูนอกกลุ่มควบคุม และแม้ว่าความสามารถดังกล่าวเลือนหายไปเมื่อกลับมาใช้ชีวิตปกติราว 1 สัปดาห์ แต่ทำให้ได้ข้อสรุปที่น่าสนใจกล่าวคือ ทำให้คาดหวังได้ว่าจะสามารถใช้วิธีการเดียวกันนี้ ทำให้คนพัฒนาการได้ยินดีขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่การได้ยินเสื่อมลงเรื่อยๆ
          แม้การอยู่ในความมืด 1 สัปดาห์ จะเป็นไปไม่ได้ในการใช้ชีวิตปกติของคนทั่วไป แต่การทดลองก่อนหน้านี้ก็ชี้ว่า การอยู่ในความมืดแค่ระยะเวลาสั้นๆ ก็อาจให้ผลแบบเดียวกัน อย่างเช่นการผูกผ้าปิดตาเป็นเวลา 90 นาที ก็สามารถเสริมสมรรถนะการได้ยินได้
          และถ้าทำสม่ำเสมอ ก็อาจสามารถบังคับให้สมองทำในสิ่งที่ปกติแล้วไม่ได้ทำได้เช่นเดียวกัน
 pageview  1205111    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved