Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 09/12/2556 ]
ใช้เฟซบุ๊กทำให้เศร้าหมอง
 เวลาท่านผู้อ่านกด "ไลค์" เมื่อเพื่อนโพสต์เฟซบุ๊กเข้ามาท่านรู้สึกอย่างนั้นจริงหรือ แต่มีงานวิจัยระบุ ว่าท่านผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กมากจะทำให้รู้สึกเศร้าหมอง
          ในบางครั้งถ้ามีโอกาสได้เจอเพื่อนในเฟซบุ๊กร่ำรวยอยู่ดีกินดีมีความสุขอาจจะทำให้บางท่านรู้สึกเศร้าหงอยไปได้เหมือนกันถ้าหากเปรียบเทียบชีวิตเขาชีวิตเรา ถ้าชีวิตเขาประสบความสำเร็จมากกว่าเรา ถ้าเรารู้สึกด้อยกว่าเอาไปเปรียบเทียบก็จะทำให้เรารู้สึกโศกเศร้าเอาได้เหมือนกัน ซึ่งตรงนี้มาจากผลการศึกษาวิจัยของมหาวิทยาลัยมิชิแกน และได้มีการยืนยันผลการวิจัยว่าจำนวนคนที่ใช้เฟซบุ๊กยิ่งมากยิ่งทำให้รู้สึกว่าชีวิตเขาไม่ดีเลยอันนี้ไม่ใช่ความรู้สึกของคนบางคน แต่เป็นผลของการศึกษาจากคนจำนวนมากที่ใช้เฟซบุ๊ก
          ซึ่งการทดลองนี้ได้มีการเชื่อมข้อความออนไลน์เพื่อการสำรวจและถามถึงความรู้สึกของผู้ใช้ว่าเป็นอย่างไรบ้าง ในการทดลองนอกจากจะมีการรายงานว่ามีการเช็คเข้าไปในเฟซบุ๊กมากน้อยแค่ไหนที่ยังจะมีเรื่องที่ดูได้ว่าพวกเขามีความห่วงใยความกังวล ความหว้าเหว่อยู่ในระดับไหนในขณะนั้น พร้อมกับตรวจสอบได้ว่ามีความพึงพอใจในชีวิตมากแค่ไหน
          การทดลองนี้ได้วัดผลระดับความ พึงพอใจในชีวิตตั้งแต่เริ่มการทดลองจนถึงช่วงท้ายเสร็จการทดลองซึ่งได้ทดลองผู้ใช้เฟซบุ๊ก นอกจากนี้ ยังพบว่าในช่วง 2 สัปดาห์ที่ทำการทดลองระดับความพึงพอใจของ ผู้เข้าร่วมการทดลองลงไปตามเวลา
          เมื่อเปรียบเทียบกับการทดลองด้วยการปฏิสัมพันธ์จริงๆ ก็พบว่าความรู้สึก ผู้ที่มาพบปะกันจริงจะดีขึ้นตามระยะเวลาของประเทศไทยก็เหมือนกับการพบปะประชุมของผู้สูงอายุที่สถานีอนามัยประจำทุกเดือนนี้เองและมีกิจกรรมการพบปะสังสรรค์ที่ทำให้ชีวิตยืนยาวขึ้นแต่ถ้าเป็น เฟซบุ๊กจะยิ่งเหงาและหว้าเหว่
          อีแทน ครอสส์ นักจิตวิทยาทางสังคมของมหาวิทยาลัยมิชิแกนได้กล่าวว่า "จากจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กมากกว่า 1,000 ล้านคนปรากฏว่าครึ่งหนึ่ง หรือประมาณ 500 ล้านคนจะใช้เฟซบุ๊กทุกวัน" "ในสภาพโดยทั่วไปนั้นเฟซบุ๊กนับว่าให้ความสะดวกหลายอย่างที่เข้าไปเติมเต็มความต้องการพื้นฐานของมนุษย์เพื่อการสร้างเครือข่ายสังคมแต่ในด้านเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับความเป็นอยู่ที่ดีนั้นเราพบว่าผู้ที่ปฏิสัมพันธ์กับเฟซบุ๊กที่เป็นกลุ่มผู้เริ่มเข้าสู่วัยผู้ใหญ่จะมีผลตรงกันข้ามคือจะรู้สึกดีกว่าเพราะฐานะความเป็นอยู่ยังไม่แตกต่างนั้นมากนักเหมือนผู้ที่ผ่านประสบการณ์นานๆ"
          แล้วอะไรล่ะที่ทำให้ผู้คนได้รับผลความรู้สึกไม่ดีต่อเฟซบุ๊ก ทฤษฎีอันหนึ่งก็คือคนมักจะเปรียบเทียบกันเองระหว่างเพื่อนๆถ้ารู้สึกด้อยกว่าความรู้สึกก็จะแย่
          ผลงานวิจัยนี้มีทั้งนักจิตวิทยา นักสังคมศาสตร์ และนักวิชาการที่มีความอยากรู้เกี่ยวกับผลกระทบอะไรบ้างที่มีต่อสมอง อารมณ์ ความรู้สึก และตนเองมีค่าแค่ไหน มาเป็นผู้ร่วมวิจัย
          อันที่จริงในปี 2012 มหาวิทยาลัยยูทาห์แวลลีย์พบว่าทางผู้ใช้รู้สึกแย่ และเศร้ามากกว่าหลังจากใช้เฟซบุ๊ก ซึ่งตอนนี้เป็นผลจากการวิจัยที่มีนักวิจัยสัมภาษณ์แบบเจาะลึกกับนักศึกษาจำนวน 425 คน และยังพบว่าระยะเวลาที่ใช้ในการเข้าเฟซบุ๊กยิ่งมากยิ่งจะมีความรู้สึกเป็นลบเกี่ยวกับชีวิต ยิ่งเข้าไปรู้เรื่องราวชีวิตของเพื่อนมากๆก็จะทำให้นำไปเปรียบเทียบชี้วัดกับตนเอง ถ้ามีแต่เพื่อนที่มีชื่อเสียงรวยเด่นจำนวนมากกว่าเราเท่าไรก็จะยิ่งรู้สึกแย่ตามไปด้วยที่ประเทศเยอรมนี ก็มี ผลงานวิจัยที่ยืนยันมาเช่นเดียวกัน
          สรุปแล้วผู้ที่ใช้เฟซบุ๊กมากๆต้องควบคุมอารมณ์ ความรู้สึกโลภโกรธ หลง อิจฉา ให้ได้มากสักหน่อยส่วนผมไม่ได้อัพเดทเฟซบุ๊กถี่มากนัก ก็เลยไม่มีอะไรให้คิดเปรียบเทียบ
 pageview  1205835    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved