Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 13/11/2556 ]
ตอนที่ 100 ศาตร์การบำบัดอาการออฟฟิศซินโดรม

 

  สวัสดีครับ ตอนนี้เป็นตอนที่ 100 แล้ว ผมจึงอยากเขียนคอลัมน์พิเศษๆ ที่เกี่ยวกับการบำบัดรักษาโรคให้กับผู้ป่วยต่างๆ ที่ผมเคยได้ทำการบำบัดรักษาไป รวมไปจนถึงลักษณะอาการและลักษณ์ท่าทางของหลายๆ คน เพื่อเป็นวิทยาทานให้ผู้อ่านที่อาจเคยหรือไม่เคยได้ยินมาก่อน ให้ได้ความรู้และความเข้าใจเอาไว้เป็นอุทาหรณ์ หรืออะไรก็ตามที่จะได้รับจากการอ่านคอลัมน์ของผมในครั้งนี้ (ขอให้ผู้อ่านทุกท่านโปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านด้วยนะครับ)
          แต่ละคนที่เข้ามารับการบำบัดรักษานั้น มีที่มาและสาเหตุของโรคที่แตกต่างกันออกไป ตามอายุ พฤติกรรม  สถานที่หรือสิ่งแวดล้อม เชื้อโรคหรือไวรัสที่ได้รับมา สภาพจิตใจหรือสภาวะจิตใจของแต่ละบุคคล หรือแม้กระทั่งโรคเวร-โรคกรรม โรคลมเพ-ลมพัด โรคที่ถูกคุณไสย ถูกของ มนต์ดำ ทำเสน่ห์ต่างๆ ผมก็ได้เจอมาไม่น้อยเลยทีเดียวครับ แต่ในคอลัมน์พิเศษนี้ผมจะขอยกอาการหรือโรคที่เด็ดๆ และเชื่อว่าผู้อ่านหลายคนอาจไม่เคยได้ยินและได้เห็นมาก่อนเป็นแน่
          ในการบำบัดรักษาแต่ละรายก็ย่อมแตกต่างกันออกไปตามอาการของผู้ป่วยที่เข้ามารับการบำบัดรักษา ว่ามีสาเหตุของอาการหรือของโรคนั้นๆ มาจากสาเหตุและปัจจัยใด
          การบำบัดรักษาจะหายช้าหรือหายเร็ว ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยเองด้วย ว่าจะมีวินัยและปฏิบัติตามผู้ทำการบำบัดรักษามากน้อยเพียงใด และอีกอย่างที่สำคัญ ขึ้นอยู่กับภูมิต้านทานของผู้ป่วยเอง และกำลังใจจากครอบครัวหรือคนรอบข้างอีกด้วย
          จากการที่ผมได้ทำการบำบัดรักษามาหลายคน หลายที่ หลายแห่ง หลายภาค หลายจังหวัด ทั้งในประเทศและต่างประเทศ อาการที่เหมือนๆ กัน เช่น ปวดศีรษะ ปวดคอ บ่าและไหล่ ปวดแขน ปวดหลัง ปวดเอว ปวดขา ปวดเข่า ฯลฯ หรืออะไรก็ตามที่เรียนมาจากตำรานั้น เมื่อมาเจอเหตุการณ์จริงและได้ทำการบำบัดรักษากับผู้ป่วยจริงๆ นั้น ค่อนข้างมีความแตกต่างจากการศึกษาในตำราที่ผมได้ร่ำเรียนมาอยู่มากพอสมควร
          ผมบอกได้เลยว่า อาการบางอาการหรือโรคบางโรคที่ผมได้ทำการรักษาจริงก็ยากเอาการอยู่ เพราะอะไรหรือครับ เพราะผมต้องใช้หลายวิธี หลายวิชา หลายต่อหลายศาสตร์เข้ามาผสมผสานในการบำบัดรักษาในแต่ละบุคคลในแต่ละครั้ง
          ส่วนอาการที่ว่ายากๆ ตามตำรา เช่น โรคอัมพฤกษ์ อัมพาต หรืออาการเหมือนคนเป็นโรคประสาท กลับทำการบำบัดรักษาได้ง่ายกว่าอาการออฟฟิตซินโดรมทั่วๆ ไปด้วยซ้ำ
          วันนี้ขออารัมภบทไว้เพียงเท่านี้ก่อน โปรดติดตามอ่านต่อได้ใหม่ในสัปดาห์หน้าครับ รับรองว่าน่าติดตามและน่าสนใจมากๆ
 pageview  1205397    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved