Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 05/11/2556 ]
นานาความปวดกับความเข้าใจที่ถูกต้อง

 

   สนับสนุนโดย บริษัท บางกอกดรัก จากัด
          กลับมาพบกับผู้อ่านอีกครั้ง ครั้งนี้พกพาคำถามที่เกี่ยวกับอาการปวดๆ มาตอบคำถามให้หายข้องใจกัน
          จริงหรือไม่...ถ้าเราเอาชนะความปวดด้วยการไม่สนใจ และหาอะไรทำ จะหายไปเองจะช่วยได้หรือไม่
          ไขข้อข้องใจ...คำตอบคือทั้งถูกและผิด ถูก...คือการหาอะไรทำ หรือลืมๆ ไปอาจทำให้รู้สึกปวดน้อยลง เพราะเป็นการหันเหความสนใจไปสู่ สิ่งอื่นๆ แต่ถ้าหากเราเพ่งความสนใจไปที่ความรู้สึกปวดในช่วงนั้น ก็อาจจะรู้สึกปวดมาก เคยไหม? ที่เวลามีละครตอนอวสาน แล้วเรานั่งดูละครนั้นโดยที่ลืมไปเลยว่ากำลังปวดอยู่!!!
          ผิด...ใช่ว่าการทำแบบนี้จะดีเสมอไป เพราะ สิ่งที่ต้องระวังคือ เราอาจไปทำกิจกรรมที่ทำให้อาการปวดเป็นมากขึ้น หรือเรียกว่าไปซ้ำอาการเดิมให้เป็นมากขึ้นได้ ก็อาจจะทำให้อาการปวดนั้นแย่ลงได้เช่นกันจริงหรือไม่...อาการปวดเปลี่ยนไปได้ตามอารมณ์
          ไขข้อข้องใจ... จริง...โดยทั่วไปแล้วอาการปวดของคนเรานั้นมีความสัมพันธ์กับอารมณ์เสมอ จากการศึกษาพบว่า อารมณ์ที่ส่งผลให้อาการปวดแย่ลงได้แก่ วิตกกังวล กลัว และความเศร้า ดังนั้นหากเราเป็นโรคใดก็ตามที่มีอาการปวดเรื้อรังจนรู้สึกว่าตัวเองอาจกลายเป็นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวลก็ควรที่จะไปพบแพทย์เพื่อรักษาทั้งสุขภาพกายและสุขภาพใจไปพร้อมๆ กัน
          จริงหรือไม่...โรคข้อเข่าเสื่อมรักษาไม่หาย แต่ทุเลาได้ด้วยการบรรเทาอาการ
          ไขข้อข้องใจ... จริง...โรคข้อเข่าเสื่อมหมายถึง การที่กระดูกอ่อนของเข่ามีการเสื่อมสภาพ ทำให้กระดูกอ่อนไม่สามารถเป็นเบาะรองรับน้ำหนักได้ เกิดการสูญเสีย คุณสมบัติของน้ำหล่อเลี้ยงข้อเข่า จึงทำให้เมื่อมีการเคลื่อนไหวข้อเข่า จะเกิดการเสียดสี และการสึกหรอของกระดูกอ่อน ทำให้ผิวของกระดูกอ่อนแข็งและไม่เรียบ เมื่อข้อเข่าเคลื่อนไหวจึงเกิดเสียงดังในข้อและเกิดอาการเจ็บปวด หากข้อเข่ามีการอักเสบก็จะมีการสร้างน้ำเลี้ยงข้อเข่าเพิ่มทำให้เกิดการบวม ตึง และปวดข้อเข่าได้
          วิธีการบรรเทาอาการปวดเบื้องต้นและ การป้องกันจึงมีอยู่หลายวิธี เช่น การทำกายบริหารและการออกกำลังกาย การบริหารกล้ามเนื้อบริเวณรอบๆ ข้อ การทำกายภาพบำบัดกรณีมีอาการผิดปกติบริเวณข้อ จนไปถึงการใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการปวด ซึ่งในการปวดช่วงแรกมักจะแนะนำเป็นยาทาภายนอก และใช้ร่วมกับการรับประทานยาบรรเทาอาการปวดเพื่อบรรเทาอาการปวดในระยะนั้นๆ แต่เมื่ออาการปวดนั้นเรื้อรังเป็นเวลานานๆ ก็จะแนะนำให้ใช้ยาทาแก้ปวดภายนอกเพื่อบรรเทาอาการปวดในระยะยาว และบรรเทาอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยารับประทานบรรเทาอาการปวดเป็นเวลานานๆ นอกจากนี้ยังมีวิธีลดความเจ็บปวดและยารักษา ข้อเข่าเสื่อมอีกมากมายที่แพทย์ได้นำมาใช้ในการรักษาโรคข้อเสื่อม ผู้ป่วยแต่ละรายจะตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดไม่เท่ากัน ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนการใช้ยาเหล่านี้
          จริงหรือไม่...สมุนไพรเจลพริก สามารถรักษาอาการปวดแบบเรื้อรังได้จริงหรือไม่
          ไขข้อข้องใจ... จริง...สมุนไพรที่มีสารสกัดจากแคปไซซิน หรือสารสกัดจากพริก เป็นยาทาแก้ปวดชนิดที่ไม่ต้องถูนวด นอกจากเจลแล้วยังมีในรูปแบบของโลชั่น สามารถดูดซึมเข้าสู่ผิวหนังได้ง่าย เวลาทาไม่จำเป็นต้อง ถูนวด สามารถใช้ทาบริเวณที่ข้อเข่าเสื่อม หรือบริเวณที่มีอาการปวดเรื้อรังต่างๆ เช่น โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์, อาการปวดหลังส่วนล่าง, ออฟฟิศซินโดรม, ปวดคอเรื้อรัง, ปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง รวมไปถึงอาการปวดปลายประสาทด้วย ตัวยาจะไปกระตุ้นประสาทให้เกิดความรู้สึกแสบร้อน ซึ่งเป็นผลดีต่อบริเวณที่มีอาการปวด เมื่อทาอย่างต่อเนื่อง อาการร้อนผ่าวๆ จะค่อยๆ ลดลง ในขณะเดียวกัน ความปวดต่างๆ จะค่อยๆ ลดลงด้วย "อาการปวดนั้นถือว่าเป็นสัญญาณเตือนสำคัญที่ทำให้เราต้องหันมาใส่ใจร่างกายว่า มีสิ่งปกติที่ควรได้รับการเยียวยาหรือไม่  การมีความรู้ความเข้าใจที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดจึงเป็นเรื่องสำคัญ"
 pageview  1205449    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved