Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 26/08/2556 ]
นอนไม่หลับระวังโรคหัวใจ

 ตกดึก...หนุ่มๆ อย่ามัวแต่แชตกับสาว หรือรอดูบอลคู่โปรดจนไม่ได้หลับไม่ได้นอนเพราะอาการอดนอนหรือนอนไม่หลับนี่ส่งผลร้ายกับร่างกายได้มากกว่าที่คิด
          กว่า30%ของประชากรไทยเคยมีปัญหาการนอนไม่หลับ และนอนไม่หลับขั้นรุนแรงจนต้องปรึกษาแพทย์มีจำนวน 6-10% แม้ว่าโรคนอนไม่หลับจะเหมือนเป็นโรคทั่วไป เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ทว่า ผศ.นพ.สุรชัย เกื้อศิริกุล ผู้อำนวยการฝ่ายการแพทย์ และผู้อำนวยการคลินิกปัญหาการนอน โรงพยาบสลมนารมย์ กล่าวว่า ยิ่งอายุมากขึ้นก็จะยิ่งเกิดปัญหานอนไม่หลับ โดยเฉพาะคนที่อยู่ในวัยกลางคนและผู้สูงอายุที่จะหลับลึดได้น้อยกว่าช่วงเด็กและวัยรุ่นเนื่องจากสภาวะทางอ้ารมณ์และฮอร์โมนเมลาโทนินซึ่งมีส่วนช่วยในการนอนหลับลดลงโดยเฉพาะในคนอายุตั้งแต่55ปีขึ้นไป
          นอนหลับยาก หลับไม่ลึก ตื่นเร็ว ตื่นกลางดึกแล้วหลับต่อไม่ได้ และตื่นตอนเช้ารู้สึกไม่สดชื่นฯลฯ หากมีอาการเหล่านี้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน(1เดือนขึ้นไป) ให้สันนิษฐานได้ว่าอาจเป็รโรคนอนไม่หลับ แต่ถ้าร่งกายไม่รู้สึกอ่อนเพลียสามารถปรับตัวและใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเดิม ก็ยังไม่จำเป็นต้องพบแพทย์ สาเหตุของการอดนอนที่พบในปัจจุบันคือ อยากนอนแต่นอนไม่หลับ และไม่ยอมนอน ซึ่งอย่างหลังมักเกิดคนยุคใหม่ที่เสพติดสมาร์ตโฟนโซเชียลเน็ตเวิร์ก หรือเล่นเกม
          นอกจากการนอนไม่หลับจะส่งผลต่ออารมณ์และพฤติกรรม จากรายงานการศึกษาในปี 2553 ตีพิมพ์ในวารสารทางการแพทย์ชื่อ Sleep โดยทีมแพทย์จากมหาวิทยาลัยเวสต์เวอร์จีเนีย พบว่า จำนวนชั่วโมงการนอนหลับสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือด โดยคนที่นอนน้อยกว่า 5 ชม. มีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือดมากกว่าคนที่นอน7ชม.เป็น2เท่า ซึ่งจะเกิดมากขึ้นในรายที่อายุน้อยกว่า 60 ปี  มากกว่านั้นคือ คนที่นอนไม่หลับเรื้อรังจะมีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้า 2-3 เท่าใน 5-10 ปี เมื่อเทียบกับคนปกติ
          ยิ่งกว่านั้น จากรายงานสำรวจประชากร 52,000 ราย ตีพิมพ์ในวารสารสมาคมโรคหัวใจอเมริกัน พบว่า ผู้ที่มีปัญหาการนอนไม่หลับทุกคืนจะเพิ่มโอกาสของการเกิดภ่าวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันสูงขึ้นเกือบ 50%
          การรักษาโรคนอนไม่หลับยิ่งเร็ว ยิ่งง่ายและยิ่งปลอดภัย ควรเริ่มจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตนเอง การนอนที่ดีจะเกิดได้เมื่อมี 2 สัญญาณคือ ความสงบและความมืด ซึ่งความมืดการนอนหลับ ขณะเดียวกันก็ต้องลดภาวะทางอารมณ์ต่างๆ ที่เป็นอุปสรรคต่อการนอนได้แก้ วิตกกังวล ซึมเศร้า ความเครียด เป็นต้น
          สำหรับในบางรายที่ต้องกินยาก็ต้องเลือกให้เหมาะกับอาการ เพราะยาแต่ละตัวมีผลข้างเคียง ทั้งอาการเพลีย ง่วงซึม หรือดื้อยาจนทำให้ต้องเพิ่มขนาดยาไปเรื่อยๆ ทำให้อาการนอนไม่หลับรุนแรงกว่าเดิมหากหยุดยาทันที

 pageview  1205576    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved