Follow us      
  
  

หนังสือพิมพ์มติชน [ วันที่ 30/05/2556 ]
หัวถึงหมอนนอนกรน ภัยเงียบบนหมอนนุ่ม

 แอร์เย็นเป็นหลับ นั่งปั๊บเป็นนอน หัวถึงหมอนเป็นกรน จะว่าไปถ้าเลือกได้คงไม่ค่อยมีใครอยากร่วมห้องกับคนนอนกรนเท่าไร ถ้ากรนขนาดหนักคนที่นอนด้วยย่อมข่มตาหลับไม่ลง หลับไม่สนิทดีแม้กรนเบา คนอื่นอาจไม่กระทบเท่าไร แต่เป็นอันตรายต่อตนเองชัวร์ๆ ถ้าไม่รีบรักษา
          คนกรนบางคนไม่รู้ตัวว่านอนกรน อายที่จะยอมรับว่าตัวเองกรน หรือถ้ารู้ตัวว่ากรนก็มองข้ามไม่ไปพบหมอเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่คุณหมออกโรงเตือนคนนอนกรนว่า เป็นภัยเงียบที่ร้ายแรงถ้าไม่รักษาตั้งแต่เนิ่นๆ ทางเดินหายใจอาจอุดกั้นขณะกลับเสียชีวิตเมื่อไรก็ได้
          ผศ.พญ.นันทิการ์ สันสุวรรณ อาจารย์รปะจำภาควิชาโสต ศอ นาสิกวิทยา คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ บอกว่า การนอนกรนเกิดจากการสั่งสะเทือนของอวัยวะทางเดินหายใจส่วนต้น เช่น เพดานอ่อน ลิ้นไก่ ผนังคอหอย และลิ้น เมื่อมีการอุดกั้นของทางเดินหายใจส่วนต้นทำให้ลมหายใจผ่านลงไปไม่สะดวก กระแสลมหมุนวน ซึ่งคนมักมองข้ามภัยนี้ไปแต่จริงๆ แล้วเป็นอันตรายมาก พบในคนทุกเพศทุกวัยในสัดส่วนประมาณร้อยละ 20
          ลักาณะการนอนกรนแบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ นอนกรนธรรมดา เกิดจากทางเดินหายใจตีบขณะนอนหลับทำให้เกิดเสียงแต่จัดเป็นชนิดไม่อันตราย
          อีกประเภทหนึ่งคือ การนอนกรนที่มีการหยุดหายใจร่วมด้วย ขณะนอนหลับจะมีการหยุดหายใจเนื่องจากการอุดกั้นของทางเดินหายใจ เสียงกรนจะไม่สม่ำเสมอ อาจมีการสะดุ้งตื่น และมีการกลั้นหายใจ หายใจแรงหรือสำลักร่วมด้วย ร่างกายจึงได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ
          ผลเสียของการนอนกรน จะทำให้ง่วงนอนตอนกลางวันไม่มีสมาธิในการทำงาน ความจำลดลง หงุดหงิดง่ายถ้าขับขี่รถหรือทำงานในส่วนควบคุมเครื่องจักรกลอาจเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุได้
          นอกจากนี้ คนนอนกรนยังเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดในสมองและโรคหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ยิ่งถ้ากรนตั้งแต่เด็กๆ พัฒนาการของสมองและร่างกายจะไม่ดีตามไปด้วย
          การนอนกรนสามารถรักษาได้ วิธีการรักษามีหลายวิธี เช่น การควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินเกณฑ์ ต้องรู้จักจำกัดปริมาณและชนิดอาหาร หมั่นออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้กล้ามเนื้อแข็งแรง หลีกเลี่ยงการรับประทานยานอนหลับ ยากล่อมประสาท และยาแก้แพ้ชนิดง่วง รวมทั้งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุรี่ด้วย
          โรคนอนกรนจะรักษาให้หายขาดได้ ผู้ป่วยต้องมีวินัยอย่างสูง ผลที่ตามมา คนในครอบครัวไม่ต้องเสียสุขภาพจิต ตัวเองก็นอนหลับสบายด้วย
          นอนตะแคงช่วยคุณได้เยอะ
          คนนอนกรนควรหลีกเลี่ยงการนอนหงาย ควรนอนในท่าตะแคงข้างและหนุนศีรษะให้สูงเล็กน้อย ถ้ามีโรคเกี่ยวกับระบบหายใจ เช่น ภูมิแพ้ ไซนัสอักเสบ ต้องรักษาด้วยการจี้คลื่นความถี่วิทยุ (RF) ขยายทางเดินหายใจให้กว้างปรับเนื้อเยื่อทางเดินหายใจให้หดตัวลง
          ถ้ามีปัญหาเกี่ยวกับต่อมทอนซิล หรืออะดีนอยด์โตต้องผ่าตัดรักษาอาการให้แล้วเสร็จ งานนี้อะไรที่เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องกับทางเดินหายใจ ต้องตามแก้ไขทีละเปลาะ โรคนอนกรนจะได้หายขาดในที่สุด

 pageview  1205161    
สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ Health Information System Development Office (HISO)
ห้อง A3 ชั้น 3 อาคาร 4Plus Buiding เลขที่ 56/22-24 ซอยงามวงศ์วาน 4 ต.บางเขน อ.เมือง จ.นนทบุรี 11000
Tel : 02-5892490-2 Fax : 02-5892493 www.healthinfo.in.th
 
© Health Information System Development Office (HISO) . All Rights Reserved