HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ
เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์



เข้าสู่เดือนแห่งรัก หากพูดถึงเรื่องรักๆ ใครๆ สิ่งหนึ่งที่คู่รักควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ก็คือ โรคที่มาจากการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ (Sexual Transmitted Disease) โดยเฉพาะโรคเอดส์ที่เป็นปัญหาสำคัญระดับโลก โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์พบได้ในทุกเพศทุกวัย ทั้งนี้บางโรคอาจไม่แสดงอาการ บางรายติดเชื้อโดยไม่รู้ตัว และที่สำคัญโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ยังสามารถติดต่อไปยังทารกได้ในสตรีมีครรภ์ โดยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สำคัญนั้น มีดังนั้น

1. โรคเอดส์ มีการค้นพบเมื่อปี ค.ศ. 1981 อันเกิดจากเชื้อไวรัส HIV ซึ่งทำลายระบบภูมิคุ้มกันโรคในร่างกาย ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะเสียชีวิตภายใน 7-10 ปีหลังรับเชื้อ และเป็นโรคที่ยังไม่มียารักษา หรือวัคซีนป้องกัน

2. โรคหนองในแท้ เกิดจากแบคทีเรีย ทำให้เกิดการระคายเคืองในท่อปัสสาวะ แสบขัดเวลาปัสสาวะ มีหนองไหลออกจากท่อปัสสาวะ อาจเกิดการอักเสบในช่องท้อง หรือเป็นหมันหากไม่ได้รับการรักษา

3. โรคหูดหงอนไก่(HPV) ผู้ป่วยมักมาด้วยอาการมีตุ่มแข็งคล้ายหงอนไก่ขึ้น บริเวณอวัยวะเพศ สามารถรักษาได้โดยการจี้ทำลาย

4. เริมที่อวัยวะเพศ เกิดจากเชื้อไวรัส ทำให้เกิดการปวดแสบบริเวณขา ก้น หรืออวัยวะเพศ และตามด้วยผื่นเป็นตุ่มใส แผลจะหายได้เองใน 2-3 สัปดาห์ แต่มีโอกาสกลับมาเป็นใหม่หากร่างกายอ่อนแอ

5. ไวรัสตับอักเสบ เกิดจากเชื้อไวรัสที่อยู่ในเลือด และสารคัดหลั่ง มีผลต่อการทำลายเซลล์ตับของผู้มีเชื้อ หากมีการอักเสบเรื้องรังเป็นระยะเวลานาน อาจทำให้เกิดโรคตับแข็ง หรือมะเร็งตับได้

6. ซิฟิลิส เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบได้ไม่บ่อย การติดเชื้อเริ่มแรกจะเป็นก้อนแข็งไม่เจ็บที่อวัยวะเพศ ไม่ไม่รักษาจะกลายเป็นระยะที่สองที่เรียกว่าเข้าข้อหรือออกดอก หากทิ้งไว้นานจะติดเชื้อที่ระบบประสาท และหัวใจ

7. โลน เกิดจากตัวเชื้อที่เรียกว่า Pthirus pubis อาศัยอยู่ตามขนโดยเฉพาะบริเวณหัวเหน่าดูดกินเลือดคนเป็นอาหาร หากอดอาหาร 24 ชั่วโมงตัวเชื้อจะตาย

8. แผลริมอ่อน เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เกิดจากเชื้อ Haemophilus Ducreyi ลักษณะของโรคจะมีแผลที่อวัยวะเพศ บวมและเจ็บ บางคนมีต่อมน้ำเหลืองที่ขาหนีบหรือที่ชาวบ้านเรียกไข่ดันบวม หากไม่รักษาหนองจะแตกออกจากต่อมน้ำเหลือง


อุบัติการณ์ของการเกิดโรคติอต่อทางเพศสัมพันธ์

สถานการณ์การติดเชื้อของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2520 จนถึงปัจจุบันมีแนวโน้มลดลง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับปีที่มีประชากรติดเชื้อจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์สูงสุดกับการติดเชื้อต่ำสุดนั้นมีอัตราการติดเชื้อที่ลดลงถึงเกือบ 7 เท่า กล่าวคือ ในปี พ.ศ. 2529 มีประชากรที่ติดเชื้อมากถึง 7.85 ต่อประชากรพันคน ในขณะที่ปีพ.ศ.2552 ลดลงเหลือเพียง 0.37 ต่อประชากรพันคน (ดังภาพที่ 1) ทั้งนี้เป็นเพราะการรณรงค์เรื่องการป้องกันโรคเอดส์โดยการใช้ถุงยางอนามัยที่มีเพิ่มขึ้น


ภาพที่ 1 อุบัติการณ์ของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ต่อประชากร 1,000 คน และอัตราการใช้ถุงยางอนามัยในหญิงขายบริการทางเพศ ประเทศไทย พ.ศ. 2520 – พ.ศ. 2552


ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน การสาธารณสุขไทย 2551 - 2552


สถานการณ์ผู้ป่วยโรคเอดส์
โรคเอดส์เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่สำคัญและไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้ จากการรวบรวมข้อมูลอัตราผู้ป่วยที่ติดเชื้อระหว่างปี พ.ศ. 2527 ถึง พ.ศ. 2551 พบว่า อัตราการติดเชื้อเอดส์เริ่มน้อยลง จากเดิมที่เคยมีอัตราสูงสุดอยู่ที่ 48.81 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ. 2541 ลดลงเหลือเพียง 13.18 ต่อแสนประชากร ในปี พ.ศ.2551 (ดังภาพที่ 2)


ภาพที่ 2 อัตราผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อแสนประชากร


ที่มา : ระบบเฝ้าระวังโรคเอดส์ (รายงาน 506/1) สำนักระบาดวิทยา ในการสาธารณสุขไทย บนเว็บไซต์ http://www.hiso.or.th/hiso/visualize/

อย่างไรก็ตาม การรายงานจำนวนผู้ป่วยเอดส์ที่ได้รับรายงานมักจะพบปัญหาการรายงานที่ต่ำกว่าความเป็นจริง กล่าวคือ มีการรายงานผู้ป่วยอยู่ที่ระดับ ร้อยละ 4.2-52.3 เท่านั้น ด้วยเหตุนี้กระทรวงสาธารณสุขและสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จึงได้ใช้วิธีประมาณการที่เรียกว่า Asian Epidemic Model (AEM) โดยคาดการณ์ไว้ว่าในอีกประมาณ 10 ปีข้างหน้าประเทศไทยจะมีจำนวนรวมสะสมของผู้ที่ติดเชื้อเอดส์ประมาณ 1,250,000 คน ในจำนวนนี้เป็นผู้ใหญ่ 1,180,000 คน และเป็นเด็กอีก 70,000 คน ดังตารางที่ 1

ร้อยละ 80 บาดเจ็บรุนแรงเพราะไม่คาดเข็มขัดนิรภัย

องค์การอนามัยโลก (2004) ได้รายงานคุณประโยชน์ของเข็มขัดนิรภัยสำหรับคนขับและผู้โดยสารเบาะหน้าไว้ว่า เข็มขัดนิรภัยสามารถลดความเสี่ยงจากการบาดเจ็บทั้งหมดลงได้ถึงร้อยละ 40-50 การบาดเจ็บสาหัสร้อยละ 43-65 และการบาดเจ็บถึงชีวิตร้อยละ 40-60 อย่างไรก็ตาม ทั้งนี้การใช้เข็มขัดนิรภัยจะมีประสิทธิภาพมากน้อยเพียงไรก็ขึ้นอยู่กับลักษณะการชนของรถด้วย (ดังตารางที่ 1) เช่น หากเป็นการชนจากด้านหน้าประสิทธิภาพของเข็มขัดนิรภัยจะช่วยลดการบาดเจ็บและเสียชีวิตได้ร้อยละ 43 หรือในกรณีรถเกิดพลิกคว่ำเข็มขัดนิรภัยจะสามารถช่วยลดการบาดเจ็บและเสียเชีวิตได้ถึงร้อยละ 77 แต่ประสิทธิภาพของเข็มขัดนิรภัยจะลดลงหากผู้โดยสารด้านหลังไม่คาดเข็มขัดนิรภัย


ตารางที่ 1 การคาดประมาณจำนวนผู้ติดเชื้อเอดส์ ผู้เสียชีวิตและป่วยจากโรคเอดส์ พ.ศ. 2546 และ พ.ศ. 2563

ประเภท 2546 2563
  ผู้ติดเชื้อสะสม 1,055,000 1,250,000
  ผู้เสียชีวิตสะสม 450,000 1,100,000
  ติดเชื้อและยังมีชีวิตอยู่ 604,000 157,000
  อุบัติการณ์ (ติดเชื้อใหม่) 21,000 8,000
  ติดเชื้อเริ่มมีอาการ 50,500 16,500
  เสียชีวิต 52,000 18,000
ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน การสาธารณสุขไทย 2551 - 2552


สำหรับสถานการณ์โรคเอด์ของประเทศไทยในแต่ละภูมิภาคนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2537-2551 พบว่า อัตราผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อประชากรแสนคน ในปี 2551 มีอัตราสูงสุดอยู่ในภาคกลาง 18.58 ต่อแสนประชากร และภาคเหนือ 16.54 ต่อแสนประชากร และต่ำสุดอยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 7.09 ต่อแสนประชากร (ดังตารางที่ 2)


ตารางที่ 2 อัตราผู้ป่วยโรคเอดส์ต่อแสนประชากร


ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน การสาธารณสุขไทย 2551 - 2552


ประสิทธิภาพของถุงยางอนามัย
แม้ว่าการใช้ถุงยางอนามัยจะเป็นการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุด และเชื่อว่าเป็นวิธีที่ปลอดภัยที่สุด แต่ต้องพึ่งระวังไว้เสมอว่า การใช้วิธีการดังกล่าวไม่ใช่การป้องกันโรคที่ได้ผล 100% เสมอไป (ดังตารางที่ 3)


ตารางที่ 3 ประสิทธิภาพของการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

โรค ประสิทธิภาพ
  เอดส์   ป้องกันได้มากกว่า 90 %
  ไวรัสตับอักเสบ บี   ป้องกันได้มากกว่า 90 %
  หูดหงอนไก่   ไม่ได้ผลหรือน้อยกว่า 10 %
  หนองในเทียม   ป้องกันได้ 50 - 90 %
  หนองในแท้   ป้องกันได้ มากกว่า 90 %
  พยาธิในช่องคลอด   ป้องกันได้ มากกว่า 90 %
  ซิฟิลิส   ป้องกันได้ 50 - 90 %
  โรคเริม   ป้องกันได้ 10 - 50 %
  แผลริมอ่อน   ป้องกันได้ 10 - 50 %
ที่มา : ป้องกัน ปลอดภัย ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ในเว็บ http://health.in.th/categories/healthful/news/16


ดังนั้นการป้องกันที่ดีที่สุดก็คือ การไม่มีเพศสัมพันธ์ แต่หากยังมีเพศสัมพันธ์ก็มีข้อแนะนำว่า สิ่งที่ต้องคำนึงเป็นลำดับแรกเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ก็คือ

1. การไม่เปลี่ยนคู่นอน ให้มีสามีหรือภรรยาเดียว
2. ใส่ถุงยางอนามัย
3. อย่ามีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุน้อย เพราะจากสถิติหากมีเพศสัมพันธ์อายุน้อยมีโอกาสติดโรคสูง
4. ให้ตรวจประจำปีเพื่อหาเชื้อโรคแม้ว่าจะไม่มีอาการ โดยเฉพาะผู้ที่ต้องการแต่งงานใหม่
5. เรียนรู้อาการของโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
6. อย่าร่วมเพศขณะมีประจำเดือน เพราะจะทำให้เกิดโรคติดต่อได้ง่าย
7. อย่ามีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก หากจำเป็นให้สวมถุงยางอนามัย
8. อย่าสวนล้างช่องคลอดเพราะจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้ง่าย




เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

แหล่งที่มา :

 - Healthy.in.th. ป้องกันโรค ปลอดภัย ห่างไกลโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์. จำนวน 3 หน้า . อ้างใน http://health.in.th/categories/healthful/news/16

 - กระทรวงสาธารณสุข. การสาธารณสุขไทย 2550 – 2552.

 - สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ.การป่วยด้วยโรคติดต่อ:อุบัติการณ์ณ์โรคเอดส์. อ้างใน http://www.hiso.or.th/hiso/visualize