HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



สำรวจความมั่นคงในชีวิต (1)
ปัญหาที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม









กลุ่มประเมินผล สำนักตรวจและประเมินผล สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์เปิดเผยข้อมูลจากการสำรวจองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั้งหมดในปี 2554 จำนวน 7,779 แห่งของพื้นที่ 4 ภาค รวมทั้งหมด 75 จังหวัด จากการสำรวจตัวบ่งชี้ต่างๆ ทั้งหมด 5 ด้านที่สะท้อนถึงการเผชิญกับปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม พบพื้นที่ที่กำลังประสบกับปัญหาต่างๆ ดังนี้

1. ปัญหาด้านครอบครัวอยู่อาศัยในสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมและสมควรได้รับความช่วยเหลือ พบว่า ครัวเรือนที่เดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 34.1 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 30.4 ภาคกลาง ร้อยละ 18.5 และภาคใต้ ร้อยละ 17.0 ตามลำดับ

2. ปัญหาด้านครัวเรือนที่มีสภาพที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงถาวร และสมควรได้รับความช่วยเหลือช่วยเหลือ พบว่า ครัวเรือนที่เดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 35.0 รองลงมาคือ ภาคเหนือ ร้อยละ 33.0 ภาคเหนือ ร้อยละ 16.8 และภาคใต้ ร้อยละ 15.2 ตามลำดับ

3. ปัญหาด้านครอบครัวที่อยู่อาศัยในพื้นที่เสี่ยงภัยธรรมชาติในระดับที่เป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน พบว่า ครัวเรือนที่เดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 39.4 รองลงมาคือ ภาคใต้ ร้อยละ 23.7 ภาคกลาง ร้อยละ 21.5 และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 15.4 ตามลำดับ

4. ปัญหาด้านครัวเรือนที่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่อยู่อาศัย เช่น อาศัยอยู่ในพื้นที่สาธารณะ ที่ราชพัสดุ ภายในบริเวณวัด ที่เช่า เป็นต้น พบว่า ครัวเรือที่เดือดร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 33.3 รองลงมา คือ ภาคกลาง ร้อยละ 27.7 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 22.4 และภาคใต้ ร้อยละ 16.6 ตามลำดับ

5. ปัญหาอื่นๆ เช่น ครัวเรือนอาศัยใกล้กับโรงงานอุตสาหกรรมได้รับมลภาวะที่เป็นพิษ ครัวเรือนที่ไม่มีไฟฟ้าและน้ำประปาใช้ ครัวเรือนที่มีทางเข้าออกไม่สะดวก ครัวเรือนไม่มีบ้านเลขที่ และครัวเรือนอาศัยอยู่ในพื้นที่ป่าสงวน พบว่า ครัวเรือนที่ได้รับความเดือนร้อนสูงสุด ได้แก่ ภาคเหนือ ร้อยละ 51.0 รองลงมาคือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 25.1 ภาคกลาง ร้อยละ 14.9 และภาคใต้ ร้อยละ 8.9 ตามลำดับ

ทั้งนี้เมื่อนำข้อมูลจากตัวบ่งชี้ 5 ด้านทั้งหมดมารวมกัน พบว่า ภาคที่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยสูงสุดได้แก่ ภาคเหนือ คิดเป็นร้อยละ 35.6 รองลงมา คือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 23.7 ภาคกลาง ร้อยละ 22.6 และภาคใต้ ร้อยละ 18.1 ตามลำดับ (ดังตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 แสดงจำนวนครัวเรือนแต่ละภาคที่มีปัญหาด้านที่อยู่อาศัยและสิ่งแวดล้อม



ที่มา : ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ อ้างใน  http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf


ใครที่เคยพบเห็นทิวทัศน์ และอากาศที่เย็นสบายของภาคเหนือ คงปฏิเสธไม่ได้ว่า ภาคเหนือเป็นที่ที่น่าอยู่อีกแห่งหนึ่งของประเทศไทย แต่ถ้าลองดูข้อมูลจากการสำรวจของสำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ในรอบปีที่ผ่านมา ไม่น่าเชื่อว่าภูมิภาคที่น่าอยู่แห่งนี้จะเป็นพื้นที่ที่ต้องเผชิญกับปัญหาทั้งด้านที่อยู่อาศัย และสิ่งแวดล้อมสูงที่สุดในประเทศ



เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา :  - กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. ข้อมูลด้านสังคมประจำปี 2554 ของศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อ้างใน http://www.m-society.go.th/document/statistic/statistic_7383.pdf