HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ
เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



มองโลกกับการตายด้วยอุบัติเหตุจราจร



อุบัติเหตุจราจรเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อวันที่ 17 สิงหาคม ค.ศ. 1896 หรือเมื่อประมาณ 658 ปีที่แล้ว โดยผู้ที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรคนแรก คือ นางบริดเก็ต ดริสคอลล์ (Bridget Driscoll) อายุ 44 ปี ชาวอังกฤษ เธอถูกรถชนในขณะที่เข้าร่วมชมขบวนแห่รถซึ่งบริษัท Anglo-French Motor Carriage Company นำมาแสดงที่บริเวณ the Crystal Palace in London รถคันดังกล่าววิ่งชนเธอด้วยความเร็วเพียง 6 กิโลเมตรเมตรต่อชั่วโมงเท่านั้น นี่คือ เหยื่อคนแรกแต่ไม่ใช่คนสุดท้ายของอุบัติเหตุจราจร

อย่างไรก็ตาม ในปี 2545 (ค.ศ. 2002) มีคนเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุจากรถชนประมาณ 1.18 ล้าน เฉลี่ยแล้วมีผู้เสียชีวิต 3,242 คนต่อวัน โดยมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุทางถนนจำนวน 2.1% ของผู้ที่เสียชีวิตทั่วโลก นอกจากนี้ยังคาดการณ์ว่า ในแต่ปีโลกจะมีเหยื่อที่พิการจากการเกิดอุบัติเหตุจราจรเพิ่มขึ้นปีละ 20- 50 ล้านคน ซึ่งหากประเมินผลกระทบที่เกิดจากอุบัติเหตุบนท้องถนนแล้ว คาดว่าความเสียหายนี้มีมูลค่าประมาณ 158 ล้านเหรียญสหรัฐ และส่งผลต่อ GNP ของแต่ละประเทศ ประมาณ 1% - 2% โดยเฉพาะประเทศที่กำลังพัฒนา

หากไม่ช่วยกันป้องกัน...ผู้เสียชีวิตและผู้บาดเจ็บจะเพิ่มมากขึ้น

การบาดเจ็บและการตายด้วยอุบัติเหตุเป็นประเด็นทางสาธารณสุขที่กำลังมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยในปีพ.ศ. 2547 อันดับสาเหตุของการเสียชีวิตของคนในช่วงวัยต่างๆ โดยการวิจัยขององค์การอนามัยโลก พบว่า อุบัติเหตุจราจร คือ สาเหตุอันดับ 1 ที่คร่าชีวิตกลุ่มวัยรุ่นซึ่งมีอายุระหว่าง 15-29 ปี และเป็นสาเหตุอันดับที่ 2 ที่ทำให้เด็กอายุระหว่าง 5-14 ปีต้องตายก่อนวัยอันควร อีกทั้งเป็นสาเหตุอันดับที่ 3 ในบรรดาโรคต่างๆ ที่ทำให้คนกลุ่มวัยแรงงาน อายุระหว่าง 30-44 ปี เสียชีวิต ดังตารางที่ 1



ตารางที่ 1 สาเหตุที่นำไปสู่การตายจำแนกตามอายุ ทั่วโลก ปี ค.ศ. 2004


ที่มา :Global Status Report on Road Safety Time for Action, 2004 World Health Organization.


ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลกและธนาคารโลก (2007) คาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2573 หรืออีก 19 ปีข้างหน้า หากแต่ละประเทศไม่มีมาตรการในการป้องกันอุบัติเหตุที่ดี จะมีคนต้องตายเพราะอุบัติเหตุถึงปีละ 2.4 ล้านคน และการตายอุบัติเหตุจราจรจะเป็นสาเหตุการอันดับที่ 5 ของโลก ดังตารางที่ 2

 

การเสียชีวิตจากการคมนาคมประเภทต่างๆ
เมื่อจัดประเภทความเสี่ยงของการคมนาคมบนท้องถนนออกเป็นคนการเดินถนน ผู้ขับขี่รถจักรยาน ผู้ขับขี่รถจักรยานยนต์ ผู้ขับรถยนต์ และอื่นๆ พบว่า ในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วมีแนวโน้มการเสียชีวิตจากการขับขี่รถยนต์มากที่สุด ในขณะที่ประเทศกำลังพัฒนามีแนวโน้มการเสียชีวิตจากการขับขี่รถมอเตอร์ไซต์มากที่สุด ส่วนประเทศที่มีรายได้น้อยคนเดินเท้ามีจำนวนการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุจราจรมากที่สุด (ดังภาพที่ 1)



ภาพที่ 1 ผู้ใช้ถนนซึ่งเสียชีวิตจากการคมนาคมขนส่งรูปแบบต่าง ๆ
ในฐานะเป็นอัตราส่วนของการเสียชีวิตทั้งหมดจากการจราจรทางถนน


ที่มา :World Report on Road Traffic Injury Prevention, 2004 World Health Report.



ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบสาเหตุการตายระหว่างปี ค.ศ. 2547 และ 2573


ที่มา :Global Status Report on Road Safety Time for Action, 2004 World Health Organization.


มูลค่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย
นักวิชาการทางด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยได้วิเคราะห์สถานการณ์อุบัติเหตุไว้ว่า อุบัติเหตุในประเทศไทยเกิดขึ้นเฉลี่ยปีละ 75,000 ครั้งต่อปี มีผู้บาดเจ็บไม่น้อยกว่าปีละ 900,000 ราย และมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยปีละ 13,000 ราย เมื่อคำนวณผลกระทบที่ประเทศไทยได้รับจากความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจรในปี 2550 มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 232,855 ล้านบาท หรือประมาณร้อยละ 2.81 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมทั้งประเทศ (GDP) ดังตารางที่ 3



ตารางที่ 3 รายละเอียดมูลค่าความสูญเสียอุบัติเหตุจราจรของประเทศไทย ณ. ปี พ.ศ. 2550


ที่มา :การศึกษาอุบัติเหตุบนทางหลวงชนบทในจังหวัดปริมณฑล. 2553. การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12-14 พฤษภาคม 2553


ทั้งนี้ความเสียหายดังกล่าว มีมูลค่ามากกว่าการสร้างสนามบินสุวรรณภูมิ ซึ่งใช้งบประมาณในการสร้างถึง 100,000 ล้านบาท แต่ก็ยังน้อยกว่ามูลค่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนตลอดปี 2550 ความสูญเสียดังกล่าวยังใกล้เคียงกับงบประมาณการสร้างรถไฟฟ้า 6 สาย ของปี 2551 คือ 259,000,000,000 และหากนำมูลค่าความเสียหายจากอุบัติเหตุทางถนนไปใช้ในการพัฒนาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพฐ.) จะสามารถนำไปพัฒนาได้ถึง 83,096 เขต ซึ่งยังไม่รวมถึงจำนวนผู้พิการที่เพิ่มขึ้นทุกปี



เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ

แหล่งที่มา :

 - World Health Organization. Global Status Report on Road Safety Time for Action, 2004. http://www.who.int/violence_injury_prevention/road_safety_status/2009/en/index.html

 - World Health Organization. World Report on Road Traffic Injury Prevention, 2004. http://www.who.int/violence_injury_prevention/publications/road_traffic/world_report/en/index.html

 - การประชุมวิชาการวิศวกรรมโยธาแห่งชาติครั้งที่ 5 มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี 12-14 พฤษภาคม 2553. การศึกษาอุบัติเหตุบนทางหลวงชนบทในจังหวัดปริมณฑล. 2553. จำนวน 7 หน้า. http://trafficsafety.drr.go.th/upload/pdf/Paper_Civil_15_TRP3.pdf

 - สำนักงานเครือข่ายลดอุบัติเหตุ (สคอ.) ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) สถานการณ์อุบัติเหตุทางถนนของประเทศไทย. จำนวนหน้า 4 หน้า. 2550. http://www.accident.or.th/?name=linktolinks&file=readlinktolinks&id=10

 - สำนักอำนวยความปลอดภัย กรมทางหลวง กระทรวงคมนาคม. มูลค่าความสูญเสียจากอุบัติเหตุจราจรในประเทศไทย. 2550. http://www.thaitransport.org/news/accidentcost/Summary%20of%20Traffic%20Accident%20Cost%20in%20Thailand%2015%20Mar%202008.doc