HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ
เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



รายงานผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังเป็นพิเศษในช่วงน้ำท่วม








Share สถานการณ์น้ำท่วมในขณะนี้นอกจากจะต้องระวังเรื่องการจมน้ำแล้ว เราทั้งหลายยังต้องช่วยกับเฝ้าระวังโรคระบาดที่จะเกิดตามมาด้วย ทั้งนี้สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานข้อมูลการเฝ้าระวังโรคจากโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วประเทศโดยเฉพาะโรงพยาบาลในภาครัฐ สำหรับการเฝ้าระวังเป็นพิเศษในสถานการณ์อุทกภัยซึ่งมีจำนวน 7 โรคที่สำคัญๆ ได้แก่ ตาแดง, ฉี่หนู, ไข้เลือดออก, อุจจาระร่วง, มือ เท้า ปาก, ไข้หวัดใหญ่ และปอดบวม พบว่า ในช่วงวันที่ 1 – 30 กันยายน 2554 เมื่อเปรียบเทียบอัตราป่วยของผู้ป่วยจำแนกตามอำเภอที่ประสบภับพิบัติ พบอัตราป่วยสูงสุด 10 อันดับแรก ดังนี้

โรคตาแดง อัตราป่วยสูงสุดอยู่ที่จังหวัดแพร่ พบอัตราป่วย 106.0 ต่อแสนประชากร รองลงมาได้แก่ จังหวัดเชียงใหม่ พบอัตราป่วย 89.7 ต่อแสนประชากร จังหวัดลำปาง พบอัตราป่วย 89.3 ต่อแสนประชากร จังหวัดสุโขทัย พบอัตราป่วย 46.8 ต่อแสนประชากร จังหวัดเลย พบอัตราป่วย 42.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดพิษณุโลก พบอัตราป่วย 34.5 ต่อแสนประชากร จังหวัดเพชรบูรณ์ พบอัตราป่วย 23.8 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครสวรรค์ พบอัตราป่วย 21.9 ต่อแสนประชากร จังหวัดอยุธยา พบอัตราป่วย 19.3 ต่อแสนประชากร และจังหวัดสระบุรี พบอัตราป่วย 18.4 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ดังภาพที่ 1)


ภาพที่ 1 อัตราป่วยโรคตาแดงในจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2554


ที่มา : สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf


โรคฉี่หนู อัตราป่วยสูงสุดอยู่ที่จังหวัดสระบุรี พบอัตราป่วย 6.3 ต่อแสนประชากร รองลงมาได้แก่ จังหวัดชัยนาท พบอัตราป่วย 5.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดร้อยเอ็ด พบอัตราป่วย 1.7 ต่อแสนประชากร จังหวัดเชียงใหม่ พบอัตราป่วย 1.5 ต่อแสนประชากร จังหวัดยโสธร พบอัตราป่วย 1.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครสวรรค์ พบอัตราป่วย 1.3 ต่อแสนประชากร จังหวัดสุรินทร์ พบอัตราป่วย 0.9 ต่อแสนประชากร จังหวัดพิจิตร พบอัตราป่วย 0.6 ต่อแสนประชากร จังหวัดศรีสะเกษ พบอัตราป่วย 0.5 ต่อแสนประชากร และจังหวัดลำปาง พบอัตราป่วย 0.4 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ดังภาพที่ 2)


ภาพที่ 2 อัตราป่วยโรคฉี่หนูในจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2554


ที่มา : สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf

โรคไข้เลือดออก (DF/DHF/DSS) อัตราป่วยสูงสุดอยู่ที่จังหวัดฉะเชิงเทรา พบอัตราป่วย 32.1 ต่อแสนประชากร รองลงมาได้แก่ จังหวัดอุทัยธานี พบอัตราป่วย 17.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครสวรรค์ พบอัตราป่วย 15.3 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครปฐม พบอัตราป่วย 15.2 ต่อแสนประชากร จังหวัดพิจิตร พบอัตราป่วย 15.2 ต่อแสนประชากร จังหวัดลพบุรี พบอัตราป่วย 13.8 ต่อแสนประชากร จังหวัดชัยนาท พบอัตราป่วย 13.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดสุพรรณบุรี พบอัตราป่วย 13.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดปทุมธานี พบอัตราป่วย 12.9 ต่อแสนประชากร และจังหวัดอยุธยา พบอัตราป่วย 11.4 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ดังภาพที่ 3)


ภาพที่ 3 อัตราป่วยโรคไข้เลือดออกในจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2554


ที่มา : สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf


โรคอุจจาระร่วง อัตราป่วยสูงสุดอยู่ที่จังหวัดอุทัยธานี พบอัตราป่วย 341.2 ต่อแสนประชากร รองลงมาได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบอัตราป่วย 322.1 ต่อแสนประชากร จังหวัดยโสธร พบอัตราป่วย 220.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดอ่างทอง พบอัตราป่วย 203.9 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครนายก พบอัตราป่วย 198.6 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครสวรรค์ พบอัตราป่วย 178.2 ต่อแสนประชากร จังหวัดสิงห์บุรี พบอัตราป่วย 178.2 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครปฐม พบอัตราป่วย 172.1 ต่อแสนประชากร จังหวัดแพร่ พบอัตราป่วย 163.0 ต่อแสนประชากร และจังหวัดลพบุรี พบอัตราป่วย 159.6 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ดังภาพที่ 4)


ภาพที่ 4 อัตราป่วยโรคอุจจาระร่วงในจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2554


ที่มา : สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf

โรคมือ เท้า ปาก อัตราป่วยสูงสุดอยู่ที่จังหวัดเลย พบอัตราป่วย 35.4 ต่อแสนประชากร รองลงมาได้แก่ จังหวัดอ่างทอง พบอัตราป่วย 26.7 ต่อแสนประชากร จังหวัดสุพรรณบุรี พบอัตราป่วย 18.6 ต่อแสนประชากร จังหวัดสระบุรี พบอัตราป่วย 11.8 ต่อแสนประชากร จังหวัดลพบุรี พบอัตราป่วย 11.8 ต่อแสนประชากร จังหวัดสุโขทัย พบอัตราป่วย 10.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครนายก พบอัตราป่วย 8.3 ต่อแสนประชากร จังหวัดชัยนาท พบอัตราป่วย 7.3 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครสวรรค์ พบอัตราป่วย 6.5 ต่อแสนประชากร และจังหวัดอุทัยธานี พบอัตราป่วย 5.8 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ดังภาพที่ 5)


ภาพที่ 5 อัตราป่วยโรค มือ เท้า ปาก ในจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2554


ที่มา : สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf


โรคไข้หวัดใหญ่ อัตราผู้ป่วยสูงสุดอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ พบอัตราป่วย 55.0 ต่อแสนประชากร รองลงมาได้แก่ จังหวัดพิษณุโลก พบอัตราป่วย 52.2 ต่อแสนประชากร จังหวัดเชียงใหม่ พบอัตราป่วย 45.6 ต่อแสนประชากร จังหวัดอุบลราชธานี พบอัตราป่วย 41.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดเลย พบอัตรป่วย 31.9 ต่อแสนประชากร จังหวัดอยุธยา พบอัตราป่วย 18.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดอุทัยธานี พบอัตราป่วย 17.4 ต่อแสนประชากร จังหวัดพิจิตร พบอัตราป่วย 12.7 ต่อแสนประชากร จังหวัดอ่างทอง พบอัตราป่วย 12.6 ต่อแสนประชากร และจังหวัดสุโขทัย พบอัตราป่วย 10.9 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ดังภาพที่ 6)


ภาพที่ 6 อัตราป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ในจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำแนกตามวันที่เริ่มป่วยตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2554


ที่มา : สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf


โรคปอดบวม อัตราป่วยสูงสุดที่อยู่จังหวัดปทุมธานี พบอัตราป่วย 99.5 ต่อแสนประชากร รองลงมาได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบอัตราป่วย 96.8 ต่อแสนประชากร จังหวัดอ่างทอง พบอัตราป่วย 73.0 ต่อแสนประชากร จังหวัดยโสธร พบอัตราป่วย 47.1 ต่อแสนประชากร จังหวัดเชียงใหม่ พบอัตราป่วย 40.1 ต่อแสนประชากร 40.7 ต่อแสนประชากร จังหวัดอุทัยธานี พบอัตราป่วย 38.6 ต่อแสนประชากร จังหวัดแพร่ พบอัตราป่วย 35.3 ต่อแสนประชากร จังหวัดนครนายก พบอัตราป่วย 34.5 ต่อแสนประชากร จังหวัดสุโขทัย พบอัตราป่วย 33.6 ต่อแสนประชากร และจังหวัดสุรินทร์ พบอัตราป่วย 31.6 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ดังภาพที่ 7)


ภาพที่ 7 อัตราป่วยโรคปอดบวมในจังหวัดที่ประสบอุทกภัย จำแนกตามวันที่เริ่มป่วย ตั้งแต่วันที่ 1-30 กันยายน 2554


ที่มา : สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf


โดยสรุป สถานการณ์โรคที่ต้องเฝ้าระวังและพบว่ามีผู้ป่วยมากที่สุดแล้วในขณะนี้ คือ โรคอุจจาระร่วงมีอัตราป่วยทั้งหมด 136.15 ต่อแสนประชากร รองลงมาได้แก่ โรคปอดบวมมีอัตราป่วยทั้งหมด 28.75 ต่อแสนประชากร โรคตาแดงมีอัตราป่วยทั้งหมด 21.74 ต่อแสนประชากร โรคไข้หวัดใหญ่มีอัตราป่วยทั้งหมด 14.78 ต่อแสนประชากร โรคไข้เลือดออกมีอัตราป่วยทั้งหมด 9.96 ต่อแสนประชากร โรคมือ เท้า ปาก มีอัตราป่วยทั้งหมด 6.04 ต่อแสนประชากร และโรคฉี่หนู มีอัตราป่วยทั้งหมด 0.85 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ (ดังภาพที่ 8)


ภาพที่ 8 แสดงอัตราป่วยด้วยโรคเฝ้าระวัง 7 โรค ในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัย ตั้งแต่วันที่ 1 - 30 กันยายน 2554


ที่มา : สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554 สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf



เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ
แหล่งที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. “สรุปรายงานผู้ป่วยจากโรคที่ต้องเฝ้าระวังพิเศษในสถานการณ์อุทกภัย ณ วันที่ 12 ตุลาคม 2554”. อ้างใน http://www.boe.moph.go.th/files/urgent/BOE-Flood-cases-12Oct2011[1].pdf