HISO - สื่อข้อมูลสุขภาพ
เกิดข้อผิดพลาด ไม่สามารถติดต่อฐานข้อมูลได้
  



ปมปัญหาการตั้งครรภ์ในแม่วัยรุ่น



ปัจจุบันปัญหาในเด็กและเยาวชนนอกจากปัญหาเด็กติดเกมส์ออนไลน์ ติดยาเสพติด หรือแม้แต่การติดการพนันแล้ว วัยรุ่นในปัจจุบันยังมีปัญหาการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควรอีกด้วย ปัญหาดังกล่าวมิได้ส่งผลกระทบต่ออนาคตของเด็กไทยเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่ออนาคตของชาติอีกด้วย เนื่องจากการตั้งครรภ์ที่ไม่พร้อมส่งผลให้เกิดปัญหาในการเลี้ยงดูบุตร ปัญหาทางด้านการเงินเพราะไม่มีงานทำซึ่งอาจนำไปปัญหาการประกอบอาชีพที่ผิดกฎหมายได้ดังนั้นปัญหานี้จึงเป็นปัญหาสำคัญทั้งผู้ใหญ่และเด็กควรทำความเข้าใจเพื่อป้องกันปัญหาการท้องไม่พร้อม


อายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก

จากข้อมูลการสำรวจของหน่วยงานต่างๆ พบว่า อายุของผู้ที่เริ่มมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีอายุน้อยลงเรื่อยๆ มาตั้งแต่ปี พ.ศ.2545 - 2552 โดยอายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมีอายุระหว่าง 15-16 ปี (ดังตารางที่ 1)


ตารางที่ 1 แสดงอายุเฉลี่ยของการมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกจำแนกตามแหล่งข้อมูล

แหล่งข้อมูล อายุเฉลี่ย (ปี)
  สถาบันวิจัยะระบบสาธารณสุข พ.ศ. 2539 18-19
  สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย พ.ศ. 2545 15-16
  เอแบคโพลล์ พ.ศ. 2547 15-16
  อนามัยโพลล์ พ.ศ. 2552 15-16


ที่มา : สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน สำนักอนามัยเจริญพันธุ์และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข อ้างใน http://rh.anamai.moph.go.th/all_file/index/Pregnancy%2017-3-54.pdf



จุดเสี่ยงเสียสาว

จากการสำรวจพฤติกรรมทางเพศของเด็กนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 มัธยมศึกษาปีที่ 5 และนักศึกษาปวช.ชั้นปีที่ 2 ของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ปีพ.ศ. 2553 พบว่า บ้านซึ่งถือว่าเป็นสถานที่ที่คิดว่าปลอดภัยกลายเป็นจุดเสี่ยงที่ต้องมีการเฝ้าระวังมากที่สุด เพราะนักเรียนทั้งชายและหญิงต่างก็ระบุว่า เลือกที่จะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกมากที่สุด คือ บ้านเพื่อนหรือบ้านของตนเอง โดยนักเรียนชายระดับชั้นม.ต้น มีร้อยละ 67.9 ม.ปลาย ร้อยละ 72.0 และนักศึกษาปวช. ร้อยละ 64.0 ในขณะที่เพศหญิงระดับชั้นม.ต้น ร้อยละ 62.7 ม.ปลาย ร้อยละ 63.5 และนักศึกษาปวช. ร้อยละ 57.9 รองลงมาเลือก หอพัก และโรงแรม (ดังตารางที่ 2)


ตารางที่ 2 แสดงสถานที่ที่นักเรียนร่วมเพศครั้งแรก (ร้อยละ)

สถานที่
2552
เพศม.2ม.5ปวช.2
2552
ม.2ม.5ปวช.2
บ้านเพื่อน/บ้านตัวเอง
ชาย74.272.066.9
หญิง67.267.859.6
67.972.064.0
62.763.557.9
โรงแรม/อพาร์ทเมนท์/ห้องเช่า(ชั่วคราว)
ชาย8.013.812.4
หญิง7.012.612.5
9.912.713.5
14.814.813.2
หอพัก
ชาย11.911.618.4
หญิง10.411.520.2
13.111.919.7
9.311.620.2
อื่นๆ
ชาย5.92.62.3
หญิง15.48.17.7
9.13.42.8
13.210.18.7


ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2553 อ้างใน สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน สำนักอนามัยเจริญพันธุ์และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข



จุดเสี่ยงเสียสาว

1. กลุ่มเสี่ยง

จากการสำรวจของกรมควบคุมโรค พบว่า สถานการณ์ด้านพฤติกรรมทางเพศของของเด็กในช่วงระหว่าง ม.ต้น ม.ปลาย และอาชีวะ มีความน่าเป็นห่วงมากขึ้น เพราะตั้งแต่ปี พ.ศ.2549-2553 เด็กนักเรียนที่เคยผ่านการมีเพศสัมพันธ์มาแล้วมีแนวโน้มมากขึ้น โดยเฉพาะในนักเรียนม.ต้น มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า ส่วนเด็กม.ปลายและเด็กอาชีวะเพิ่มขึ้นเล็กน้อย (ดังตารางที่ 3)


ตารางที่ 3 แสดงร้อยละของนักเรียนที่เคยมีเพศสัมพันธ์

กลุ่มเป้าหมาย
ร้อยละ
25492550255125522553
  1. นักเรียน ม.2
ชาย  
2.93.23.74.24.4
หญิง  
1.51.92.32.63.0
  2. นักเรียน ม.5
ชาย  
21.021.224.124.725.9
หญิง  
12.212.914.713.915.5
  3. นักเรียน ปวช. ชั้นปีที่ 2
ชาย  
36.240.243.344.046.6
หญิง  
28.234.136.337.441.0


ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2553 อ้างใน สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน สำนักอนามัยเจริญพันธุ์และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข


2. การใช้ถุงยางอนามัย

จากการสำรวจของกรมควบคุมโรคยังพบว่า พฤติกรรมการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกยังน่ากังวลเพราะมีการใช้เกือบไม่ถึงครึ่งของเด็กที่เคยมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิงนั้นมีเกณฑ์การป้องกันในระดับต่ำ โดยเฉพาะในเด็กนักเรียนม.ต้น ซึ่งมีการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกเพียง ร้อยละ 48.9 (ดังตารางที่ 4)


ตารางที่ 4 แสดงร้อยละของการใช้ถุงยางอนามัยเมื่อมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก

กลุ่มเป้าหมาย
ร้อยละ
25492550255125522553
  1. นักเรียน ม.2
ชาย  
45.850.051.850.753.2
หญิง  
33.350.048.341.548.9
  2. นักเรียน ม.5
ชาย  
48.249.751.151.551.0
หญิง  
42.846.349.947.649.2
  3. นักเรียน ปวช. ชั้นปีที่ 2
ชาย  
45.248.348.351.449.4
หญิง  
39.041.345.647.348.1


ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2553 อ้างใน สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน สำนักอนามัยเจริญพันธุ์และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

สำหรับการใช้ถุงยางอนามัยครั้งล่าสุดเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับแฟนหรือคู่รัก พบว่า มีเด็กและเยาวชนจำนวนมากที่ไม่ใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกัน โดยเฉพาะในกลุ่มเด็กผู้หญิง ม.ปลาย และเด็กอาชีวะ ซึ่งมีเพียงร้อยละ 40 ที่ตอบว่าใช้ถุงยางอนามัย


ตารางที่ 5 แสดงร้อยละของการใช้ถุงยางอนามัยครั้งล่าสุดเมื่อมีเพศสัมพันธ์กับแฟนหรือคู่รัก

กลุ่มเป้าหมาย
ร้อยละ
25492550255125522553
  1. นักเรียน ม.2
ชาย  
55.567.953.457.753.4
หญิง  
41.433.340.433.144.4
  2. นักเรียน ม.5
ชาย  
47.244.144.746.347.9
หญิง  
47.234.638.134.738.1
  3. นักเรียน ปวช. ชั้นปีที่ 2
ชาย  
42.645.042.956.743.9
หญิง  
25.830.131.932.634.5


ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2553 อ้างใน สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน สำนักอนามัยเจริญพันธุ์และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข

3. สถานการณ์โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์

การไม่ใช้ถุงยางอนามัยนอกจากจะทำให้เด็กมีโอกาสเสี่ยงต่อการตั้งครรภ์แล้ว ยังมีโอกาสเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ซึ่งพวกเขาคาดไม่ถึงด้วย จากข้อมูลของกรมควบคุมโรคพบว่า อัตราการป่วยด้วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในเด็กและเยาวชนอายุระหว่าง 15-24 ปี เพิ่มขึ้น เพียงแค่ระยะ 5 ปีที่ผ่านมา อัตราป่วยเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า กล่าวคือ ในปี 2552 มีอัตราการป่วยต่อแสนประชากรถึง 76.5 จากเดิมที่ในปี 2548 มีอัตราป่วยต่อแสนประชากรอยู่ที่ 41.5 (ดังภาพที่ 1)


ภาพที่ 1 แสดงอัตราป่วยโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ในวัยรุ่นและเยาวชน อายุ 15-24 ปี



ที่มา : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค 2552 อ้างใน สถานการณ์อนามัยเจริญพันธ์ในเด็กและเยาวชน สำนักอนามัยเจริญพันธุ์และสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข



การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

1. สถานการณ์การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร

ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา คือ ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2548 – 2552 สถิติการตั้งครรภ์ของวัยรุ่นอายุระหว่าง 15-29 ปี มีจำนวนมากขึ้น จาก 123,447 รายต่อปี เป็น 131,748 รายต่อปี หรือเฉลี่ยวันละ 361 ราย และพบว่าแต่ละปี อัตราการตั้งครรภ์ค่อนข้างคงที่คือ ประมาณ 55-56 คนต่อประชากรหญิงในวัยเดียวกัน 1000 คน โดยแต่ละปีมีการทำแท้งประมาณ ร้อยละ 9 หรือประมาณ 12,000 ราย (ดังตารางที่ 6)


ตารางที่ 6 แสดงอัตราการตั้งครรภ์ของหญิงอายุ 15-19 ปี ต่อประชากรหญิงอายุ 15-19 ปี 1,000 คน

ปี พ.ศ. การแท้งทุกประเภท หญิงคลอด 15-19 ปี รวมหญิงตั้งครรภ์ 15-19 ปี หญิงอายุ 15-19 ปี ทั้งหมด อัตรา: 1,000
2548 10,399 113,048 123,447 2,247,586 54.9
2549 11,149 112,509 123,658 2,265,800 54.6
2550 11,844 115,948 127,792 2,300,740 55.5
2551 11,788 118,921 130,709 2,329,702 56.1
2552 11,920 119,828 131,748 2,344,720 56.2


ที่มา : 1. สำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข  2. ข้อมูลหญิงตั้งครรภ์ อายุ 15-19 ปี (การคลอดและการแท้ง) จากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข (หมายเหตุ ข้อมูลการทำแท้งรวบรวมได้เฉพาะผู้ที่มาใช้บริการของรัฐเท่านั้น)


2. ร้อยละของแม่คลอดบุตรอายุ 10 -19 ปี พ.ศ. 2547-2552

จากข้อมูลการตั้งครรภ์ของเด็กวัยรุ่นอายุระหว่าง 10 - 19 ปี ที่คลอดบุตรในโรงพยาบาลของรัฐ พบว่า มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปีและไม่มีท่าทีว่าจะลดลง (ดังภาพที่ 2) จากร้อยละ 13.9 ในปี พ.ศ. 2547 เพิ่มขึ้นเป็น ร้อยละ 16.0 ในปี พ.ศ. 2552 ในขณะที่ตัวเลขของหญิงคลอดบุตรที่มีอายุระหว่าง 10-14 ปี มีแนวโน้มขึ้นลงเล็กน้อย โดยในระยะแรก คือ 0.3 ระหว่างปี พ.ศ. 2547-2548 และ พ.ศ. 2551 แต่กลับมีจำนวนเพิ่มในปี พ.ศ. 2550 และปี พ.ศ. 2552 เป็น ร้อยละ 0.4


ภาพที่ 2 ร้อยละของแม่คลอดบุตรอายุ 10-19 ปี พ.ศ. 2547-2552



ที่มา : โดยการสนับสนุนข้อมูลจากสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวงสาธารณสุข จัดทำข้อมูลโดยสำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

3. จังหวัด 10 อันดับที่มีการตั้งครรภ์สูงสุด

จากข้อมูลการให้บริการในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง พบว่า อัตราการตั้งครรภ์ของหญิงอายุระหว่าง 15-19 ปี สูงที่สุดคือ จังหวัดระยอง อัตรา 91.6 ต่อประชากรหญิงในวัยเดียวกัน 1,000 คน รองลงมาได้แก่ จังหวัดชลบุรี 83.4 และจังหวัดตาก 83.1 เป็นต้น (ดังตารางที่ 7)


ตารางที่ 7 แสดง 10 จังหวัดแรกที่มีอัตราการตั้งครรภ์ของหญิงที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปีสูงสุด

ลำดับ ชื่อจังหวัด แม่คลอดอายุ 15-19 ปี รวม แท้งทุกประเภท จำนวนหญิงตั้งครรภ์ จำนวนหญิงอายุ 15-19 ปี รวม อัตราการตั้งครรภ์หญิงอายุ 15-19 ปี
1 ระยอง 1,847 149 1,996 21,793 91.6
2 ชลบุรี 3,709 184 3,893 46,656 83.4
3 ตาก 1,486 148 1,634 196,754 83.1
4 สมุทรสาคร 1,432 67 1,499 18,080 82.9
5 ประจวบคีรีขันธ์ 1,364 120 1,484 17,941 82.7
6 สระบุรี 1,551 143 1,694 21,369 79.3
7 นครนายก 629 39 668 8,824 75.7
8 กาญจนบุรี 2,002 122 2,124 28,797 73.8
9 สุราษฎร์ธานี 2,431 298 2,729 37,537 72.7
10 กระบี่ 1,141 129 1,270 17,831 71.2


ที่มา : 1. ข้อมูลเฉพาะเด็กเกิดมีชีพในโรงพยาบาลของรัฐที่มีรายงานมายังสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง สาธารณสุข 2. วิเคราะห์และรายงาน โดยสำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย



คุณภาพชีวิตของเด็กแรกเกิดในกลุ่มแม่วัยรุ่น

จากสถิติการเกิดมีชีพในโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง พบว่า ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในแม่ที่มีอายุน้อยมีแนวโน้มสูงกว่าในแม่ที่มีอายุมาก ดังจะเห็นได้จาก ร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในแม่ที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในปี 2550 มีจำนวน ร้อยละ 18.7 ในขณะร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ในแม่ที่มีอายุระหว่าง 15-19 ปี มีร้อยละ 13.7 (ดังภาพที่ 3)


ภาพที่ 3 แสดงร้อยละของเด็กแรกเกิดที่มีน้ำหนักต่ำว่าเกณฑ์ในแม่วัยรุ่น ปีงบประมาณ 2546-2550



ที่มา : 1. ข้อมูลเฉพาะเด็กเกิดมีชีพในโรงพยาบาลของรัฐที่มีรายงานมายังสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ กระทรวง สาธารณสุข 2. วิเคราะห์และรายงาน โดยสำนักอนามัยเจริญพันธุ์ กรมอนามัย

จะเห็นได้ว่าสถานการณ์การตั้งครรภ์ในวัยรุ่นและวัยเรียนกำลังเพิ่มขึ้นอย่างน่าวิตก โดยวัยรุ่นส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจในการมีเพศสัมพันธ์อย่างปลอดภัย ทั้งเรื่องการป้องกันโรคติดต่อและการป้องกันตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ดังนั้นการให้ความรู้ในเรื่องเพศสัมพันธ์กับเด็กและเยาวชนควรมุ่งเน้นความใส่ใจและรับผิดชอบต่อตนเองและผู้อื่นด้วย



เรียบเรียงโดย :  สิริกร เค้าภูไทย สำนักงานพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารสุขภาพ