หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน [ วันอังคาร ที่ 23 เดือนพฤจิกายน 2553 ]
โรคเกาต์


โรคเกาต์เกิดจากสาเหตุอะไร...

โรคเกาต์เกิดจากร่างกายมีกรดยูริกมากเกินไป กรดยูริกเป็นสารที่เกิดจากการเผาผลาญของเพียวรีน ซึ่งมีมากในเนื้อสัตว์ เครื่องในสัตว์ ถั่วต่าง ๆ และพืช ผักอ่อน รวมทั้งเกิดจากการสลายตัวของเซลล์ภายในร่างกาย กรดยูริกจะถูกขับออกทางปัสสาวะ หากร่างกายมีการสร้างกรดยูริกมากเกินไปหรือไตขับยูริกได้น้อยลง เนื่องจากไตเสื่อมลง กรดยูริกก็จะตกผลึกตามข้อ ผนังหลอดเลือด ไตและอวัยวะต่าง ๆ ทำให้เกิดอาการปวดข้อและโรคแทรกซ้อนที่เป็นอันตรายได้


รู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคเกาต์...

- ปวดข้อรุนแรงอย่างเฉียบพลัน ถ้าเป็นการปวดครั้งแรกมักจะปวดข้อเดียว ข้อที่พบบ่อยคือ นิ้วหัวแม่เท้าข้างใดข้างหนึ่ง

- มักจะเริ่มปวดตอนกลางคืนหรือมีอาการกำเริบหลังดื่มเหล้าดื่มเบียร์หรือหลังกินเลี้ยง หรือกินอาหารมากเกินปกติ

- อาจมีไข้ หนาวสั่น ใจสั่น อ่อนเพลียหรือเบื่ออาหารร่วมด้วย

โรคเกาต์มักจะอยู่คู่กับโรคอะไร...

โรคเกาต์มักจะอยู่คู่กับโรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ทั้งนี้ เนื่องจากโรคเรื้อรังดังกล่าวรวมทั้งยาที่ใช้ในการรักษาจะยับยั้งกระบวนการขับยูริกออกจากร่างกายและทำให้ไตเสื่อมลงอย่างรวดเร็ว จึงเพิ่มความรุนแรงของโรคเกาต์

การรักษาโรคเกาต์ด้วยยาลดอักเสบมีข้อจำกัดอย่างไร...

การรักษาโรคเกาต์ด้วยยาลดอักเสบ เช่น คอลซิซีน (Colchicine) หรือยาต้านอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) เป็นต้น ถึงแม้ว่ายาเหล่านี้เป็นยาพื้นฐานในการรักษาโรคเกาต์สำหรับการแพทย์ตะวันตกก็ตาม แต่อาจไม่ใช่ทางออกที่ดีที่สุดสำหรับผู้ป่วย เนื่องจากเป็นเพียงการบรรเทาปวดและอักเสบชั่วคราวเท่านั้น และมิได้หยุดยั้งการลุกลามของโรคที่สำคัญคือ พิษของยาจะก่อให้เกิดการระคายเคืองของกระเพาะอาหาร ทำให้อาหารไม่ย่อยและเลือดออกในกระเพาะอาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ป่วยที่ใช้คอลซิซีนมักจะมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเดิน และพิษของยายังอาจยับยั้งการทำงานของไขกระดูก ตับไตและทางเดิน หายใจด้วย

การแพทย์จีนมีวิธีบำบัดอย่างไร...

การแพทย์จีนได้จัดโรคเกาต์ให้อยู่ในกลุ่มโรคที่เกิดจากเส้นลมปราณติดขัด (ปี้ปิ้ง) และพิษของลม (เฟืองเสีย) แบะร้อน-ชื้น (ชึอยื่อ) สะสมในร่างกาย จึงนิยมใช้วิธีบำบัดแบบองค์รวมดังนี้:

- ขจัดพิษของลมและร้อน-ชื้นที่เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคเกาต์ให้ออกจากร่างกาย เพื่อหยุดยั้งการลุกลามของโรค

- สลายเลือดคั่งบริเวณข้อ กระตุ้นการไหลเวียนของโลหิตเพื่อลดอาการอักเสบและอาการปวด จึงบรรเทาอาการตึง ร้อน บวมและแดง บริเวณข้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ช่วยขับปัสสาวะ เพื่อขับกรดยูริกออกจากร่างกายให้มากขึ้น

อาการต่าง ๆ ของโรคเกาต์จึงค่อย ๆ ทุเลาลงหรืออาจหายไปในที่สุด




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล