หนังสือพิมพ์ คม ชัด ลึก [ วันอังคาร ที่ 22 เดือนตุลาคม 2553 ]
สธ.แนะวิธีบริจาคช่วยผู้ประสบน้ำท่วม


โฆษกกระทรวงสาธารณสุข แนะผู้ใจบุญที่ต้องการส่งอาหารไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ให้เลือกอาหารกระป๋อง อาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารกล่องที่เก็บได้นาน บูดเสียช้า เช่น ไข่ต้ม อาหารที่ไม่มีกะทิ อาหารแห้ง เพื่อลดความเสี่ยงผู้ประสบภัยทุกข์ซ้ำเติมจากโรคอุจจาระร่วง อาหารเป็นพิษ ย้ำหากเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรังป่วย ให้รีบพาไปพบแพทย์หรือแจ้งอสม.ที่อยู่ใกล้

(21ต.ค.) นายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา โฆษกกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ว่า กระทรวงสาธารณสุข มีความเป็นห่วง เรื่องอาหารบริจาคผู้ประสบภัยน้ำท่วมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นอาหารกระป๋อง อาหารปรุงสำเร็จหรืออาหารกล่อง อาจเสี่ยงโรคอุจจาระร่วง โรคอาหารเป็นพิษ จากการรับประทานอาหาร และมีโอกาสเกิดขึ้นสูงในช่วงน้ำท่วม ในการลดความเสี่ยงผู้ประสบภัยได้รับความทุกข์ซ้ำเติมจากโรคดังกล่าว หากเป็นไปได้ควรประกอบอาหารแจกจ่ายประชาชนที่จุดอพยพน้ำท่วมจะดีที่สุด เพราะจะได้รับประทานอาหารที่ร้อน สุกใหม่ ส่วนอาหารที่ปรุงสำเร็จรูปหรือข้าวกล่อง ควรปรุงใหม่ๆ และแยกกับข้าวใส่ถุงพลาสติกไว้ต่างหาก ไม่เป็นอาหารที่ปรุงจากกะทิเพราะจะบูดเสียง่าย


เมนูอาหารที่เหมาะในการช่วยเหลือผู้ประสบภัย ไม่บูดง่าย ได้แก่ ไข่ต้ม ไข่เค็ม น้ำพริกต่างๆ กุนเชียงทอด หมูทอด หมูแผ่น หรือเป็นข้าวเหนียวนึ่งธรรมดา ข้าหลามที่ไม่ใส่กะทิ ขนมปังกรอบ จะเก็บไว้ได้หลายวัน หลีกเลี่ยงการบริจาคขนมปังปอนด์เพราะมีอายุสั้นประมาณ 5-7 วัน และขึ้นราง่าย ผู้ประสบภัยบางราย โดยเฉพาะเด็กอาจไม่สังเกต หรือฉีกเฉพาะส่วนที่ขึ้นราทิ้ง กินเฉพาะส่วนที่ยังไม่ขึ้นราซึ่งจะเป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจแจกผลไม้ เช่น กล้วยน้ำว้า ส้ม ฝรั่ง ชมพู่ ให้ผู้ประสบภัย และแจกนมกล่องยูเอชทีให้เด็ก ก็จะช่วยให้ผู้ประสบภัยได้รับสารอาหาร วิตามินครบถ้วนยิ่งขึ้น ช่วยเสริมภูมิต้านทานโรค ไม่ป่วยง่าย

นายแพทย์สุพรรณกล่าวต่อว่า สำหรับผู้ประสบภัย ควรรับอาหารกล่องให้พอดีเฉพาะคนในครอบรัว ไม่ควรเก็บไว้มากๆเผื่อมื้อต่อไปหรือเผื่อคนอื่นๆ เพราะอาหารกล่องจะบูดเสีย ไม่ควรเก็บนานเกิน 4-6 ชั่วโมง ส่วนอาหารกระป๋องขอให้ดูวันหมดอายุ กระป๋องอยู่ในสภาพดีไม่บุบ หรือบวม พอง และสังเกตลักษณะของอาหารในกระป๋องก่อนรับประทานทุกครั้ง สำหรับครอบครัวที่มีเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ หรือผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ขอให้ดูแลให้คนกลุ่มนี้ได้รับประทานอาหารก่อน เนื่องจากสภาพน้ำท่วมอาจส่งผลกระทบต่อจิตใจ ทำให้ร่างกายที่มีภูมิต้านทานต่ำกว่าคนทั่วไป อ่อนแอลง เจ็บป่วยง่าย หากพบว่ามีอาการไข้ ท้องเสีย หรืออาการผิดปกติต่างๆ ขอให้รีบพาไปพบแพทย์หรือแจ้งอสม.ที่อยู่ใกล้ที่สุด ยะลาหนุนน้ำดื่ม5หมื่นขวดส่งไปช่วยผู้ประสบอุทกภัย

ที่หน้าอาคารศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อ.เมือง จ.ยะลา นายประมุข ละมุน รองผู้อำนวยการ ศอ.บต. ได้เป็นประธานในพิธีส่งน้ำดื่มจำนวน 50,000 หมื่นขวด ที่ได้รับการสนับสนุนจากโรงงานผลิตน้ำดื่มชุมชน ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จำนวน 30 แห่ง เพื่อขนส่งไปมอบช่วยเหลือให้กับประชาชนที่ประสบอุทกภัย ในพื้นที่ภาคอีสานและภาคกลางในขณะนี้ โดยจะมีการขนส่งด้วยรถยนต์กระบะ ทยอยเดินทางออกจากพื้นที่ จ.ยะลา ตั้งแต่วันนี้

นายประมุข ละมุน รองผู้อำนวยการ ศอ.บต. กล่าวว่า หลังจากที่ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ ได้แจ้งไปยังประชาชนผ่านทางคลื่นวิทยุ ในช่วงเช้าที่ผ่านมา ว่าต้องการการสนับสนุนน้ำเปล่า เพื่อที่จะขนส่งไปช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนอยู่ในขณะนี้ ก็ได้รับการตอบรับจากโรงงานผลิตน้ำดื่มในพื้นที่จำนวน 30 แห่ง ที่มอบน้ำดื่มจำนวนดังกล่าว

"ประชาชนชาวจังหวัดชายแดนภาคใต้ มีความห่วงใยผู้ประสบภัยจากน้ำท่วมเป็นอย่างมาก เนื่องจากที่ผ่านมาจังหวัดชายแดนภาคใต้เกิดเหตุความไม่สงบ ภาคอื่นก็ได้ให้ความช่วยเหลือมาโดยตลอด ในครั้งนี้ประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้จึงต้องการแสดงน้ำใจ จึงได้ร่วมกันสนับสนุนน้ำดื่มในครั้งนี้" รอง ผอ.ศอ.บต. กล่าว




 










 


หน้าแรก | เกี่ยวกับแผนงาน | เครือข่ายและกิจกรรม | ผลผลิตและรายงาน | ข้อมูลสถิติ | การจัดการความรู้ | หน่วยงาน | ติดต่อแผนงาน | เจ้าหน้าที่ดูแลระบบ
แนะนำแผนงาน | ข่าวกิจกรรม | เกาะติดกิจกรรมเด่น | หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง | ผลผลิตและรายงาน| รายงานสุขภาพ| ก้าวใหม่กับ HISO | สถานการณ์สุขภาพประเทศไทย
การวิเคราะห์สถานการณ์สุขภาพ | สถานการณ์ข่าวสุขภาพ | เรื่องเล่าข่าวสุขภาพ | สื่อข้อมูลสุขภาพ | แบบสำรวจสุขภาพ | webbord | คำถามที่พบบ่อย | สมุดเยี่ยมชม | บริการข้อมูล